![]() |
การพัฒนาหลักเกณฑ์การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าไม่จดทะเบียนภายใต้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 (Development of Unregistered Trademark Protection Rules Under Trademark Act B.E.2534) |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ธิดารัตน์ หนังสือ |
Title | การพัฒนาหลักเกณฑ์การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าไม่จดทะเบียนภายใต้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 (Development of Unregistered Trademark Protection Rules Under Trademark Act B.E.2534) |
Contributor | ศิริชัย มงคลเกียรติศรี |
Publisher | คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร |
Publication Year | 2562 |
Journal Title | วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร |
Journal Vol. | 12 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 113-141 |
Keyword | ลวงขาย, ละเมิดเครื่องหมายการค้า, เครื่องหมายการค้าไม่จดทะเบียน, Passing Off, Trademark Infringement, Unregistered Trademark |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/lawnujournal/index |
Website title | https://www.tci-thaijo.org/index.php/lawnujournal/article/view/209906 |
ISSN | 1906425X (Print), 24653829(Online) |
Abstract | เครื่องหมายการค้าไม่จดทะเบียนได้รับการคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 46 วรรคสอง ซึ่งให้สิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่จดทะเบียนฟ้องคดีเกี่ยวกับการลวงขายในลักษณะการนำสินค้าของผู้ละเมิดไปลวงขายโดยแสดงว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่จดทะเบียน ซึ่งปัจจุบัน พบว่า พฤติกรรมลวงขายมีการพัฒนาในรูปแบบอื่นที่แตกต่างจากมาตราดังกล่าว ตัวอย่างเช่น การลวงขายโดยวิธีการโฆษณา การลวงขายโดยการนำสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่จดทะเบียนไปสวมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น เป็นต้น จึงเป็นข้อจำกัดในการใช้สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่จดทะเบียนในการฟ้องคดีเพราะพฤติกรรมลวงขายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 46 วรรคสองไม่ครอบคลุมพฤติกรรมลวงขายอื่นที่มีการพัฒนาในปัจจุบัน ดังนั้น บทความวิจัยนี้จึงได้นำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักเกณฑ์การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าไม่จดทะเบียนผลการศึกษา พบว่า เจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่จดทะเบียนได้รับความคุ้มครองเฉพาะกรณีลวงขายเท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าไม่จดทะเบียนครอบคลุมพฤติกรรมลวงขายที่มีการพัฒนา จึงเห็นว่าหากนิยามหลักเกณฑ์การลวงขายเพิ่มเติมในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 จะทำให้เกิดความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การลวงขาย และเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่จดทะเบียนในมาตรา 46 วรรคสองโดยขยายขอบเขตแห่งสิทธิเกี่ยวกับการให้สิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่จดทะเบียนบอกกล่าวผู้ละเมิดให้กระทำการหรืองดกระทำการใดๆ ที่จะทำให้ตนเสียหายได้ก่อนฟ้องคดี หากตกลงกันได้ก็จะลดปริมาณคดีสู่ศาล และให้กำหนดข้อยกเว้นสำหรับผู้ใช้เครื่องหมายการค้าไม่จดทะเบียนโดยสุจริต เพื่อให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่จดทะเบียนและบุคคลที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้น โดยสุจริตสามารถตกลงอนุญาตให้ใช้สิทธิกันได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจSection 46, paragraph two under the Trademark Act B.E.2534 prescribes the rights of unregistered trademark owner about litigation. This provision is about the passing off, which means someone sells his goods by fraudulent that it is an unregistered trademarkowner's goods. In present, there are any kinds of passing off development such as passing off by advertising; passing off by put the other trademark in unregistered trademark owner's goods and etc. These passing off differ from passing off in the provision; it is a restriction of the unregistered trademark owner's rights to sue in the case of passing off. Therefore, this paper presents the results of the study on the development of unregistered trademark protection rules under the Trademark Act B.E.2534.The study found that unregistered trademark owners are protected only in the case of passing off. Therefore, it should define the definition of passing off in Section 4 of the Trademark Act B.E. 2534. It will make most people understand about passing off. Another result it should amend about the rights of unregistered trademark owner in Section 46, paragraph two; by expanding the scope of the rights before litigation and the exception for person, who uses owner's unregistered trademark in good faith. |