การเสริมสร้างทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้วยรูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อยกระดับความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนเทศบาลนครสงขลา
รหัสดีโอไอ
Creator ชัชวาล ชุมรักษา
Title การเสริมสร้างทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้วยรูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อยกระดับความสามารถด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนเทศบาลนครสงขลา
Contributor พัฒนา ศิริกุลพิพัฒน์, จินตนา กสินันท์, ศิลป์ชัย สุวรรณมณี, ขรรค์ชัย แซ่แต้ และรุ่งทิพย์ แซ่แต้
Publisher งานวารสาร มหาวิทยาลัยนครพนม
Publication Year 2568
Journal Title วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
Journal Vol. 15
Journal No. 1
Page no. 229-245
Keyword รูปแบบการฝึกอบรม, การเรียนรู้ร่วมกัน, เทคโนโลยีดิจิทัล, ทักษะความเข้าใจ, ความสามารถด้านดิจิทัล
URL Website https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj
Website title เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
ISSN 3057-1162
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการการเสริมสร้างทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล พัฒนารูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกัน ศึกษาผลการใช้รูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกัน และประเมินรูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกัน ใช้วิธีดำเนินการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาปัญหาและความต้องการการเสริมสร้างทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกัน ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกัน และขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ครูโรงเรียนเทศบาลนครสงขลา จำนวน 147 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปัญหาและความต้องการ รูปแบบการฝึกอบรม แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมกันและความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความต้องการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. รูปแบบการฝึกอบรมมีองค์ประกอบได้แก่ 1) บริบท 2) ปัจจัยนำเข้า 3) กระบวนการ 4) ผลลัพธ์ และ 5) ข้อมูลย้อนกลับ และ มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นก่อนการฝึกอบรม 2) ขั้นดำเนินการฝึกอบรม 3) ขั้นการประเมินผล 4) ขั้นติดตามหลังการฝึกอบรม รูปแบบการฝึกอบรมมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.27/83.17 3. ทักษะความเข้าใจและ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พฤติกรรม การเรียนรู้ร่วมกันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่สุด ความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4.รูปแบบการฝึกอบรมมีความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ