การขยายผลใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัล และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
รหัสดีโอไอ
Creator มัลลิกา โคมพิทยา
Title การขยายผลใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัล และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
Contributor พิจิตรา ธงพานิช, นิราศ จันทรจิตร
Publisher งานวารสาร มหาวิทยาลัยนครพนม
Publication Year 2567
Journal Title วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
Journal Vol. 14
Journal No. 2
Page no. 345-357
Keyword การคิดแก้ปัญหา, การคิดวิเคราะห์, คณิตศาสตร์, ระบบนิเวศการเรียนรู้, การเรียนรู้ดิจิทัล
URL Website https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj
Website title เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
ISSN 3057-1162
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายผลและศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัล และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ขอบเขตในการวิจัยครั้งนี้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการขยายผลการวิจัย คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์และหุ่นยนต์ จำนวน 14 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีคุณภาพและความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( =4.73, S.D.=0.42) 2) แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลที่มีค่าความยาก (PE) อยู่ระหว่าง 0.47–0.65 อำนาจจำแนก (D) รายข้ออยู่ระหว่าง 0.44–0.75 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74 3) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ที่มีค่าความยาก (P) อยู่ระหว่าง 0.35–0.78 อำนาจจำแนก (r) รายข้ออยู่ระหว่าง 0.32–0.80 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนรู้ที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนตุลาคม ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ.2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มขยายผลมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D.=0.47)
วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ