![]() |
การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและการจัดการความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พูลสมบัติ ติงมหาอินทร์ |
Title | การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและการจัดการความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร |
Publisher | งานวารสาร มหาวิทยาลัยนครพนม |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม |
Journal Vol. | 14 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 301-318 |
Keyword | อุบัติเหตุทางการจราจร, ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน, การเฝ้าระวัง, การจัดการความเสี่ยง, รูปแบบ Sensor Model |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj |
Website title | เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย |
ISSN | 3057-1162 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการเฝ้าระวังและการจัดการความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน Sensor Model อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร โดยการศึกษาแบบวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ การศึกษาพัฒนารูปแบบ การใช้รูปแบบและประเมินผล โดยศึกษาในทีมพัฒนา จำนวน 150 คน ได้แก่ คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน ประชาชนที่เคยได้รับอุบัติเหตุในช่วงปี 2567 จำนวน 261 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกการเกิดอุบัติเหตุ แบบสอบถาม แนวคำถามการระดมความคิดเห็นและสัมภาษณ์เชิงลึก รวมทั้งแบบคัดลอกข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติการทดสอบที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) อำเภอเมืองสกลนคร พบการเกิดอุบัติเหตุส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุ 3 ด้าน คือ ปัจจัยด้านคน ปัจจัยด้านรถ ปัจจัยด้านถนนและสิ่งแวดล้อม พบพฤติกรรมเสี่ยงของผู้เกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่มีใบอนุญาตในการขับขี่รถ 2) อำเภอเมืองสกลนครมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัย ทางถนนทั้งในระดับอำเภอและท้องถิ่น มีบทบาทสำคัญในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนตามรูปแบบการเฝ้าระวังและการจัดการความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน Sensor Model ส่งผลให้อัตราการบาดเจ็บลดลงอย่างชัดเจน และประชาชนในพื้นที่มีความพึงพอใจในระดับมากขึ้นหลังการทดลองใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 ดังนั้น รูปแบบ Sensor Model เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ด้วยการสร้างกลไกในการขับเคลื่อนในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนของชุมชน พัฒนาระบบข้อมูลและการสื่อสารแจ้งความเสี่ยงอุบัติเหตุในพื้นที่ พัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน แจ้งเหตุและการรายงานข่าวอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่นำไปสู่การจัดการที่เป็นแนวทางการดำเนินงานเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนที่มีประสิทธิภาพ ควรนำไปขยายผลให้กับอำเภออื่นๆได้ |