การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้พหุวัฒนธรรมของครูนาฏศิลป์ในเขตพื้นที่ภาคใต้
รหัสดีโอไอ
Creator จิระเดช นุกูลโรจน์
Title การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้พหุวัฒนธรรมของครูนาฏศิลป์ในเขตพื้นที่ภาคใต้
Contributor สุรีรัตน์ จีนพงษ์, กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์
Publisher งานวารสาร มหาวิทยาลัยนครพนม
Publication Year 2567
Journal Title วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
Journal Vol. 14
Journal No. 2
Page no. 284-300
Keyword ครูนาฏศิลป์, พหุวัฒนธรรม, สมรรถนะของครูนาฏศิลป์, ทักษะการบูรณาการ, การจัดการเรียนรู้พหุวัฒนธรรม
URL Website https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj
Website title เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
ISSN 3057-1162
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้พหุวัฒนธรรมของครูนาฏศิลป์ในเขตพื้นที่ภาคใต้ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณควบคู่กับเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยประกอบด้วย 1) ครูนาฏศิลป์ภายใต้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 179 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพหุวัฒนธรรม ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษา รวมทั้งสิ้น 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้ 1) แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหา 2) แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ 3) แบบบันทึกการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผลจากการวิจัยพบว่า ครูนาฏศิลป์ส่วนใหญ่มีมโนทัศน์เกี่ยวกับวัฒนธรรมในขอบข่ายที่จำกัดและมีทุนความรู้ด้านพหุวัฒนธรรมศึกษาที่ไม่ครอบคลุมและคลาดเคลื่อนในบางประเด็น ผลจากการประเมินระดับความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและหลักการจัดการศึกษาตามแนวทางพหุวัฒนธรรมของครูนาฏศิลป์อยู่ในระดับปานกลางครูส่วนใหญ่ยังคงใช้แนวคิดและวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นบทบาทครูเป็นศูนย์กลาง โดยใช้แผนการสอน เนื้อหาสาระ ตำราเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ รวมถึงการวัดและประเมินผลที่เป็นแบบเดียวกัน ซึ่งนำมาจากคู่มือการเรียนการสอนจากสำนักพิมพ์ อีกทอดหนึ่ง ทำให้ขาดความหลากหลายและไม่สะท้อนสภาพสังคมที่เป็นจริง ขาดทักษะการบูรณาการเรียนรู้ให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทเชิงพื้นที่และความแตกต่างทางวัฒนธรรมของผู้เรียน อีกทั้งสถานศึกษาขาดปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์และห้องปฏิบัติการนาฏศิลป์ สื่อเทคโนโลยี โอกาสในการพัฒนาทักษะพหุวัฒนธรรมสำหรับครูประจำการ รวมถึงงบประมาณสำหรับจัดการศึกษาที่มีอย่างจำกัด ในส่วนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ครูส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีการลดทอนเนื้อหาที่สุ่มเสี่ยงต่อวัฒนธรรมของผู้เรียน มีการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ในสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ หรือแม้แต่การเรียนรู้แนวคิดและวิธีสอนพหุวัฒนธรรมด้วยตัวเองจากสื่อออนไลน์ ถึงอย่างไรก็ตามครูนาฏศิลป์บางส่วนยังคงมีทัศนคติเชิงลบต่อผู้เรียนต่างศาสนาและต่างชาติพันธุ์ ขาดความคาดหวังในตัวผู้เรียนและเชื่อว่านาฏศิลป์เป็นศาสตร์เฉพาะทางอาจจะไม่เหมาะกับผู้เรียนทุกคนทุกกลุ่ม จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลให้ครูนาฏศิลป์ส่วนใหญ่มีความต้องการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้พหุวัฒนธรรมของครูนาฏศิลป์อยู่ในระดับสูง
วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ