![]() |
การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (อุทยานนกน้ำนครสวรรค์) ในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วิมลพร ระเวงวัลย์ |
Title | การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (อุทยานนกน้ำนครสวรรค์) ในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ |
Contributor | ศราธรณ์ หมั่นปรุ |
Publisher | งานวารสาร มหาวิทยาลัยนครพนม |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม |
Journal Vol. | 14 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 240-255 |
Keyword | เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม, เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน, การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน, อุทยานกน้ำนครสวรรค์, พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj |
Website title | เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย |
ISSN | 3057-1162 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) ในการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมและประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ศึกษาคุณภาพสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) และสำรวจความพึงพอใจของประชาชนและนักท่องเที่ยวทั่วไปต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) ในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด (อุทยานนกน้ำนครสวรรค์) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ประชาชนและนักท่องเที่ยวทั่วไปที่สนใจในการท่องเที่ยวอุทยานนกน้ำ จำนวน 500 คน และกลุ่มตัวอย่างจำนวน 80 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญและวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ความต้องการการใช้สื่อ 3) แบบสอบถาม ความพึงพอใจต่อคุณภาพของสื่อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อภาพรวมของการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) ในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (อุทยานนกน้ำนครสวรรค์) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาค่าเฉลี่ย (x ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล AR และ VR สามภาษา (ไทย-อังกฤษ-จีน) ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ ในการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวอุทยานนกน้ำนครสวรรค์ได้ในระดับมาก (x ̅=3.80, S.D.=0.80) และ 2) คุณภาพของสื่อที่สร้างขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (x ̅=4.80, S.D.=0.40) และ 3) ประชาชนและนักท่องเที่ยวทั่วไป มีความพึงพอใจต่อสื่อที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.92, S.D.=0.6) |