กระบวนการนำนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์สำหรับวิเคราะห์ภาพถ่ายเอกซเรย์ทรวงอกมาใช้ในโรงพยาบาลรัฐของไทย
รหัสดีโอไอ
Creator กิตติศักดิ์ กวีกิจมณี
Title กระบวนการนำนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์สำหรับวิเคราะห์ภาพถ่ายเอกซเรย์ทรวงอกมาใช้ในโรงพยาบาลรัฐของไทย
Contributor เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์
Publisher งานวารสาร มหาวิทยาลัยนครพนม
Publication Year 2567
Journal Title วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
Journal Vol. 14
Journal No. 2
Page no. 21-38
Keyword ปัญญาประดิษฐ์, ทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรมของโรเจอรส์, กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม, การนำนวัตกรรมมาใช้, โรงพยาบาลรัฐ
URL Website https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj
Website title เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
ISSN 3057-1162
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ขั้นตอนของกระบวนการนำนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์สำหรับวิเคราะห์ภาพถ่ายเอกซเรย์ทรวงอก (chest X-ray AI: CXR-AI) มาใช้ในโรงพยาบาลรัฐในประเทศไทย และวิเคราะห์รูปแบบของกระบวนการนำนวัตกรรมดังกล่าวมาใช้งาน โดยใช้กรอบแนวคิดกระบวนการนวัตกรรมองค์การในการวิเคราะห์ การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีพหุกรณีศึกษา โดยเลือกโรงพยาบาลรัฐ 4 แห่งด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และเลือกกลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลจากกรณีศึกษาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจงและแบบลูกโซ่ รวมทั้งสิ้น 17 คน การเก็บข้อมูล ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า 1. กระบวนการนำ CXR-AI มาใช้ในโรงพยาบาลในทุกกรณีศึกษาได้ดำเนินไปจนผ่านขั้นตอนการสร้างความชัดเจน (Clarifying Stage) แล้ว โรงพยาบาลที่ได้จัดเตรียมแผนระยะยาว เช่น จัดทำแนวทางการใช้ CXR-AI หรือจัดเตรียมงบประมาณสำหรับใช้งานนวัตกรรมดังกล่าวจะทำให้การใช้งาน CXR-AI กลายเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำของโรงพยาบาล (Routinizing Stage) ในกรณีที่อุปสงค์ของการใช้งานเทคโนโลยีลดลง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่อนคลายลง จะนำไปสู่การเลิกใช้งาน CXR-AI 2. กระบวนการนำ CXR-AI มาใช้ในโรงพยาบาลที่เป็นกรณีศึกษา สอดคล้องกับรูปแบบกระบวนการนวัตกรรมองค์การของ Rogers โดยมีความแตกต่างบางประการ โดยการเริ่มต้นกระบวนการอาจเกิดจากอุปสงค์ของโรงพยาบาล หรือ ถูกผลักดันด้วยการมีอยู่ของตัวเทคโนโลยีเอง การปฏิเสธการใช้นวัตกรรมอาจเกิดขึ้นในขั้นตอนใดของกระบวนการก็ได้ ซึ่งทำให้กระบวนการนวัตกรรมมีลักษณะเป็นวงจรที่เกิดซ้ำ บางขั้นตอน เช่น ขั้นตอนการปรับเปลี่ยนรูปแบบนวัตกรรม (Redefining Stage) และขั้นตอนการสร้างความชัดเจนอาจเกิดขึ้นซ้อนกันได้ งานวิจัยนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการนำเอานวัตกรรม CXR-AI มาใช้ในโรงพยาบาลรัฐ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารโรงพยาบาลในการวางแผนและส่งเสริม การนำนวัตกรรมนี้มาใช้งาน ผลลัพธ์ของการศึกษายังสามารถใช้เป็นกรอบแนวคิดในการติดตามความก้าวหน้าของการนำเอา CXR-AI หรือนวัตกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องมาใช้ในโรงพยาบาลรัฐได้
วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ