การศึกษาติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ: ศึกษากรณียุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมในประเด็นเร่งด่วนเรื่องสังคมสูงวัย
รหัสดีโอไอ
Creator เลิศพร อุดมพงษ์
Title การศึกษาติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ: ศึกษากรณียุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมในประเด็นเร่งด่วนเรื่องสังคมสูงวัย
Publisher งานวารสาร มหาวิทยาลัยนครพนม
Publication Year 2565
Journal Title วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
Journal Vol. 12
Journal No. 2
Page no. 283-296
Keyword ยุทธศาสตร์ชาติ, การสร้างโอกาส, ความเสมอภาคทางสังคม, สังคมสูงวัย, สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
URL Website https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj
Website title เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
ISSN 2651-2459
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและติดตามผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม เพื่อนำเสนอแนวทางเชิงปฏิบัติของหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้อง โดยมุ่งศึกษาในประเด็นเร่งด่วนเรื่องสังคมสูงวัย ซึ่งเป็น 1 ใน 15 ประเด็นที่ต้องขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมในห้าปีแรกของยุทธศาสตร์ชาติ และ มุ่งศึกษาบทบาทของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในทัศนะของผู้เกี่ยวข้อง ใช้วิธีการวิจัยผสมวิธีแบบคู่ขนาน โดยใช้แบบสอบถามส่งไปยังจังหวัดต่างๆ ทั้ง 76 จังหวัด จังหวัดละ 6 ฉบับ รวมส่งแบบสอบถามไปทั้งสิ้น 456 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามกลับมา 173 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัย เชิงคุณภาพ ใช้การสนทนากลุ่ม โดยได้เชิญบุคคลกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ที่มีผู้สูงอายุมากที่สุด ตามฐานข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ 2017 ได้แก่ จ.แพร่ จ.อุตรดิตถ์ จ.อุทัยธานี จ.พิจิตร และ จ.ลำปาง รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 55 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และ การสร้างข้อสรุปโดยใช้วิธีการแบบอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า การดำเนินการในระยะต่างๆ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับ "ปานกลาง" ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม โดยข้อเสนอแนวทางสำคัญ ได้แก่ ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้แก่หน่วยงานระดับจังหวัดให้ทั่วถึง การสนับสนุนทางวิชาการเพิ่มขึ้น การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้เรื่องการจัดทำแผนแบบใหม่ การจัดทำระบบฐานข้อมูลกลางเกี่ยวกับผู้สูงอายุในประเทศที่หน่วยงานรัฐสามารถเข้าถึงและใช้ร่วมกันได้ ควรมีการบูรณาการหน่วยงานระดับพื้นที่ให้ดำเนินการร่วมกันในลักษณะแผนงานเดียว ตลอดจนมีความต้องการให้จัดอบรมการใช้ระบบ eMENSCR แก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับให้มากขึ้น และ สศช. ควรลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คำปรึกษา สร้างความเข้าใจ และสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ประโยชน์จากผลการศึกษานี้ ทำให้ได้ข้อมูลและแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาส และความเสมอภาคทางสังคมในประเด็นเร่งด่วนเรื่องสังคมสูงวัยของหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้อง
วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ