![]() |
การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูมืออาชีพสำหรับนักศึกษาครู |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | แสงจันทร์ กะลาม |
Title | การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูมืออาชีพสำหรับนักศึกษาครู |
Contributor | สันติ วิจักขณาลัญฉ์, อริยพร คุโรดะ |
Publisher | งานวารสาร มหาวิทยาลัยนครพนม |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม |
Journal Vol. | 12 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 181-197 |
Keyword | การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรรายวิชา, การปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา, นักศึกษาครู, ความสามารถของครูมืออาชีพ |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj |
Website title | เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย |
ISSN | 2651-2459 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชาการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูมืออาชีพสำหรับนักศึกษาครู และศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตร การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือระยะที่ 1 การพัฒนาหลักสูตร โดยการสังเคราะห์เอกสารเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและเอกสารความสามารถของครูมืออาชีพ เครื่องมือคือแบบบันทึกการสังเคราะห์เอกสาร ซึ่งมีความเหมาะสมเท่ากับ 4.40 เหมาะสมในระดับมาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการบรรยายเชิงวิเคราะห์เพื่อการยกร่างหลักสูตร ตรวจสอบความเหมาะสมของร่างหลักสูตรและแบบประเมินความสามารถของครูมืออาชีพสำหรับนักศึกษาครู โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ระยะที่ 2 การศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตร โดยการทดลองใช้หลักสูตรใช้แบบแผน Pre-Experimental Design แบบการวิจัย One-Shot Case Study ประชากรคือนักศึกษาชั้นปีที่ 5 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการฝึกปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาภาคเรียนที่ 1/2562 จำนวน 580 คน เลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 32 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1. หลักสูตรรายวิชาการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูมืออาชีพสำหรับนักศึกษาครู มี 7 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและเหตุผล 2) แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตรรายวิชา 4) คำอธิบายรายวิชาและขอบข่ายเนื้อหาสาระ 5) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 6) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 7) การวัดและการประเมินผล การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมเฉลี่ย 4.54 (S.D. = 0.15) อยู่ในระดับมากที่สุด 2. แบบประเมินความสามารถของครูมืออาชีพสำหรับนักศึกษาครู นำแบบประเมินไปหาค่าความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ 0.99 และ 3. แบบบันทึกสะท้อนตน มีความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีค่าเท่ากับ 4.00 อยู่ในระดับมาก ค่าประสิทธิผลของหลักสูตรรายวิชาใช้สถิติ "X" ? และร้อยละ ตามเกณฑ์การผ่านหลักสูตร พบว่านักศึกษามีความสามารถของครูมืออาชีพเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 (S.D. = 0.31) ซึ่งอยู่ในระดับสูงที่สุด และคะแนนจากการประเมินความสามารถของครูมืออาชีพและแบบบันทึกสะท้อนตนรวมทั้งหมดร้อยละ 89 ถือว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 70 ขึ้นไป และงานวิจัยนี้เกิดประโยชน์ต่อสถาบันการผลิตครูที่มีหลักสูตรรายวิชาปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถของครูมืออาชีพสำหรับนักศึกษาครู และการใช้หลักสูตรรายวิชานี้จะทำให้คุณภาพของครูไทยให้มีทั้งครูดี ครูเก่ง มีความสามารถครอบคลุมทุกด้าน อันจะส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ดีต่อไป |