กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการตัดสินใจประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
รหัสดีโอไอ
Creator ธนัชลักษณา ฤทธิ์แดง
Title กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการตัดสินใจประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Contributor วรัทยา ธรรมกิตติภพ, ภัทรา วยาจุต
Publisher มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
Publication Year 2568
Journal Title วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
Journal Vol. 14
Journal No. 1
Page no. 40-56
Keyword การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, การตัดสินใจศึกษาต่อ, การตัดสินใจประกอบอาชีพ
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU
ISSN 3088-1129
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการตัดสินใจประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจากนั้นนำมาออกแบบสร้างกิจกรรมซึ่งผนวกกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและเส้นทางการเรียนรู้แบบเฉพาะบุคคล ออกแบบแผนกำกับกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการทดลองใช้ในขั้นต่อไป เครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดกลุ่มและสร้างข้อสรุป ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการตัดสินใจประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้วิธีการทดลองเป็นการยืนยันผลการพัฒนานวัตกรรมในครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนวัดเขียนเขต จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนกำกับกิจกรรมการเรียนรู้ และแบบประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งเป็นข้อคำถามแบบประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบ paired sample t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05ผลการวิจัย พบว่า กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วย 1) รู้จักอาชีพและรู้จักตนเอง 2) รวบรวมข้อมูลอาชีพและการวิเคราะห์ตนเอง 3) ตรวจสอบตนเองกับอาชีพ 4) นำข้อมูลตนเองสู่การวางแผน 5) พิจารณาเลือกแนวทางจากข้อมูล 6) ตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ กิจกรรมการเรียนรู้นี้ผ่านการประเมินตรวจสอบคุณภาพอย่างมีฉันทามติจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน สำหรับผลการนำกิจกรรมการเรียนรู้ไปทดลองใช้ พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนประเมินการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการตัดสินใจประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อของนักเรียนสูงกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้อย่างชัดเจน กิจกรรมการเรียนรู้ที่นักเรียนออกแบบเองสามารถสะท้อนการวางแผนเป้าหมายอนาคตของตนเองได้อย่างเหมาะสม ภายใต้ข้อกำหนดที่ครูผู้สอนและนักเรียนกำหนด บทบาทการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของนักเรียนและการประเมินผลจากใบงานสะท้อนข้อมูลในเชิงคุณภาพว่า ทั้งครูและนักเรียนเกือบทั้งหมดมีระดับความพึงพอใจมากต่อการใช้กิจกรรมการเรียนรู้
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ