การพัฒนาพฤติกรรมการมีมารยาทไทยของครูอนุบาลชาวต่างชาติโดยการฝึกอบรมมารยาทไทย โรงเรียนอนุบาลนานาชาติเพรพ สาขาสุทธิสาร กรุงเทพมหานคร
รหัสดีโอไอ
Creator ชลธิชา สุนาคำ
Title การพัฒนาพฤติกรรมการมีมารยาทไทยของครูอนุบาลชาวต่างชาติโดยการฝึกอบรมมารยาทไทย โรงเรียนอนุบาลนานาชาติเพรพ สาขาสุทธิสาร กรุงเทพมหานคร
Contributor ปิยลักษณ์ อัครรัตน์
Publisher มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
Publication Year 2568
Journal Title วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
Journal Vol. 14
Journal No. 1
Page no. 25-39
Keyword ครูอนุบาลชาวต่างชาติ, การฝึกอบรม, มารยาทไทย
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU
ISSN 3088-1129
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการมีมารยาทไทยของครูอนุบาลชาวต่างชาติ ที่โรงเรียนอนุบาลนานาชาติเพรพ สาขาสุทธิสาร กรุงเทพมหานคร ก่อนและหลังการฝึกอบรมมารยาทไทย และ2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูอนุบาลชาวต่างชาติต่อการฝึกอบรมมารยาทไทย โรงเรียนอนุบาลนานาชาติเพรพ สาขาสุทธิสาร กรุงเทพมหานคร ประชากร คือ ครูอนุบาลชาวต่างชาติที่โรงเรียนอนุบาลนานาชาติเพรพ สาขาสุทธิสาร กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2566 รวมทั้งสิ้น 5 คน ระยะเวลาในการทดลอง 8 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง วันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 09.00 น.-12.00 น. จำนวน 2 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการฝึกอบรมมารยาทไทย 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการมีมารยาทไทย 3) แบบประเมินความพึงพอใจของครูอนุบาลชาวต่างชาติต่อการฝึกอบรมมารยาทไทย สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการมีมารยาทไทยของครูอนุบาลชาวต่างชาติ ที่โรงเรียนอนุบาล นานาชาติเพรพ สาขาสุทธิสาร กรุงเทพมหานคร หลังการฝึกอบรมมารยาทไทยสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมมารยาทไทยซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยคะแนนก่อนการฝึกอบรมมารยาทไทย มีค่าเฉลี่ย = 24.20 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 12.76 และหลังการฝึกอบรมมารยาทไทย มีค่าเฉลี่ย = 73.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.00 และ 2) ความพึงพอใจของครูอนุบาลชาวต่างชาติต่อการฝึกอบรมมารยาทไทย ที่โรงเรียนอนุบาลนานาชาติเพรพ สาขาสุทธิสาร กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ คือ ความพึงพอใจของครูอนุบาลชาวต่างชาติต่อการฝึกอบรมมารยาทไทย อยู่ในระดับมากหรือมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย = 4.90 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.07 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านวิทยากร ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่โครงการ และด้านความเข้าใจและการนำความรู้ไปใช้มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากัน มีค่าเฉลี่ย = 5.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.00 ส่วนด้านสถานที่ / ระยะเวลา / อาหาร มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ย = 4.55 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.33
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ