รูปแบบการมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการ PLC ในการนำนโยบายสู่การจัดการคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 2
รหัสดีโอไอ
Creator ศิริวรรณ ภูริวัฒนธรรม
Title รูปแบบการมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการ PLC ในการนำนโยบายสู่การจัดการคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 2
Contributor ประจวบ จันทร
Publisher มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
Publication Year 2568
Journal Title วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
Journal Vol. 14
Journal No. 1
Page no. 176-194
Keyword การมีส่วนร่วม, กระบวนการ PLC, การนำนโยบายสู่การจัดการคุณภาพการศึกษา
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU
ISSN 3088-1129
Abstract ปัจจุบัน ปัญหาการมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการ PLC ในการนำนโยบายสู่การจัดการคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาพิษณุโลกเขต 2 2) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการ PLC ในการนำนโยบายสู่การจัดการคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 2 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการ PLC ในการนำนโยบายสู่การจัดการคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 2 วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียน แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)ผลการวิจัย พบว่าสภาพปัจจุบันในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย ทั้งนี้เนื่องจากเป็นนโยบายใหม่ส่งผลให้ผู้บริหารและบุคลากรยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ PLC ผลการตรวจสอบยืนยันรูปแบบ ทุกด้านยืนยันอยู่ในระดับมากที่สุด ผลจากการนำไปปฏิบัติ พบว่า การมีส่วนร่วมในการจัดการคุณภาพการศึกษาของผู้บริหารและคณะครูต่อกระบวนการ PLC ได้แก่ นโยบายการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม, การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, การพัฒนาการเรียนการสอนกลุ่มสาระภาษาไทย, การพัฒนาการเรียนการสอนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์, การพัฒนาการเรียนการสอนกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ, การจัดเตรียมความพร้อมระดับปฐมวัย, ก้าวไกลเทคโนโลยี, มีทักษะอาชีพตามวัย, การส่งเสริมสุขอนามัยนักเรียน, การยกระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ และการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา ตามลำดับ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการ PLC ในการนำนโยบายสู่การจัดการคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ