![]() |
ผลของการจัดกิจกรรมแบบคาดคะเน สังเกต อธิบายที่มีต่อทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยโรงเรียนเทพวิทยา เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วิชชุดา ตรีศรี |
Title | ผลของการจัดกิจกรรมแบบคาดคะเน สังเกต อธิบายที่มีต่อทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยโรงเรียนเทพวิทยา เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร |
Contributor | อัญชลี ไสยวรรณ, ศศิธร โสภารัตน์ |
Publisher | มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Journal Vol. | 14 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 137-149 |
Keyword | การจัดกิจกรรมแบบคาดคะเน สังเกต อธิบาย (Predict Observe Explain: POE), ทักษะการคิด เด็กปฐมวัย, เด็กปฐมวัย |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU |
ISSN | 3088-1129 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมแบบคาดคะเน สังเกต อธิบาย (POE) โรงเรียนเทพวิทยา เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ประชากรได้แก่ เด็กปฐมวัยชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเทพวิทยา สำนักงานเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 100 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1 ห้องเรียน เป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 จำนวน 25 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ใช้แบบแผนการวิจัย 1 กลุ่ม ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 30 - 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย1) แผนการจัดกิจกรรมแบบคาดคะเน สังเกต อธิบาย (Predict Observe Explain: POE) 32 แผน 2) แบบทดสอบทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยที่มีค่าความเชื่อมั่นด้านการสังเกตที่ .74 ด้านการจับคู่และเปรียบเทียบที่ .72 ด้านการจัดหมวดหมู่ที่ .70 ด้านการเรียงลำดับเหตุการณ์ที่ .66 ด้านการคาดคะเนที่ .70 ด้านการอธิบายเชื่อมโยงสาเหตุและผลที่เกิดขึ้นที่ .70 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที แบบ dependentผลการวิจัย พบว่า เด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดหลังการจัดกิจกรรมแบบคาดคะเน สังเกต อธิบาย (Predict observe explain: POE) สูงกว่าก่อนการทดลอง ทั้งโดยภาพรวม และในแต่ละด้านได้แก่ ด้านการสังเกต ด้านการจับคู่และเปรียบเทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเรียงลำดับเหตุการณ์ ด้านการคาดคะเน ด้านการอธิบายเชื่อมโยงสาเหตุและผลที่เกิดขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |