![]() |
การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาการออกแบบและเทคโนโลยีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อุดมทรัพย์ เที่ยงธรรม |
Title | การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาการออกแบบและเทคโนโลยีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 |
Contributor | จันทร์ ติยะวงศ์ |
Publisher | มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Journal Vol. | 13 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 157-166 |
Keyword | การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU |
ISSN | 2286-8860 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ก่อนเรียนและหลังเรียน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนกับเกณฑ์ 75% 2) เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนกับคะแนนเกณฑ์ 75% รูปแบบการวิจัยเป็นแบบ One-group pretest posttest กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 23 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสมเด็จพระธีรญาณมุนี ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา สุ่มเลือกแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) จากประชากร 57 คน ที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 34 คน และ 5/2 จำนวน 23 คน โรงเรียนสมเด็จพระธีรญาณมุนี ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ที่ผ่านการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน มีความเหมาะสม (X= 4.18, S.D. = 0.48) และ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โครงงานโคมไฟรูปทรง 3 มิติ ปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 จากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.44 ถึง 0.71 ค่าอำนาจจำแนกของ (B) ตั้งแต่ 0.26 ถึง 0.71 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยวิธีของ Lovett เท่ากับ 0.90 3) แบบประเมินความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีความเหมาะสมระดับมาก (X= 4.18, S.D. = 0.48 ) ค่าความเที่ยงทั้งฉบับโดยวิธีของ แอลฟาครอนบัค เท่ากับ 0.71 ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ สถิติทดสอบ t (t-test)ผลการวิจัย พบว่า1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ กำหนด 75% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .012) คะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี สูงกว่าคะแนนเกณฑ์กำหนด 75% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |