ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัยของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
รหัสดีโอไอ
Creator เจษฎากร อังกูลพัฒนาสุข
Title ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัยของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
Contributor ภัทรา วยาจุต
Publisher มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
Publication Year 2567
Journal Title วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
Journal Vol. 13
Journal No. 2
Page no. 42-57
Keyword พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัย, ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัย
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU
ISSN 2286-8860
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัยของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัยของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2566-2567 และใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะในการเดินทาง จำนวน 400 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์ มีความเชื่อมั่นของเครื่องมือ เท่ากับ .856 และ .818 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple regression analysis) ด้วยวิธี Enter regressionผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัยของนักเรียนะดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานะทางการเงิน ประสบการณ์ขับขี่รถจักรยานยนต์ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์ เจตคติสนับสนุนพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ 2) ปัจจัยด้านอิทธิพลจากสิ่งรอบข้างบุคคล ได้แก่ อิทธิพลของสื่อ อิทธิพลจากคนรอบข้าง กฎระเบียบสถานศึกษา สถานภาพทางครอบครัว โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า เช่น กลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนเป็นเพศชายและหญิงใกล้เคียงกัน เป็นเพศชาย ร้อยละ 49.75 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 47.50 ภาพรวมมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยนต์ปานกลาง (X= 13.75, S.D. = 1.253) มีเจตคติสนับสนุนพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ ด้านการสวมหมวกนิรภัย ค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (X=4.52, S.D.=.742) อิทธิพลของสื่อ ด้านความคิดว่าสื่อสามารถให้ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์ได้ มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (X= 4.23, S.D. = .837) กฎระเบียบสถานศึกษา ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบด้วยตนเองเพราะเป็นสิ่งที่ควรทำ มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (X= 4.15, S.D. = .978) ส่วนระดับพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัยของกลุ่มตัวอย่างภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X= 3.92, S.D. = .936) พิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้อมีพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัยอยู่ในระดับมาก ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัย มีด้วยกัน 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยอิทธิพลของสื่อ (p-value = .000) ปัจจัยกฎระเบียบสถานศึกษา (p-value = .010) และปัจจัยสถานภาพทางครอบครัว (p-value = .029) ทั้งนี้ปัจจัยดังกล่าวสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัยของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 30-70 (R Square = .307)
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ