![]() |
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบจากแห้วเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการตลาด ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงเกษตรสร้างสรรค์สมหวังที่วังยาง ตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | เกื้อจิตร ชีระกาญจน์ |
Title | การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบจากแห้วเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการตลาด ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงเกษตรสร้างสรรค์สมหวังที่วังยาง ตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี |
Contributor | จรัญญา ปานเจริญ, สุกัญญา สิงห์ตุ้ย |
Publisher | มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Journal Vol. | 13 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 32-41 |
Keyword | การพัฒนาผลิตภัณฑ์, ข้าวเกรียบแห้ว, ศักยภาพทางการตลาด, วิสาหกิจชุมชน |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU |
ISSN | 2286-8860 |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบจากแห้วเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงเกษตรสร้างสรรค์สมหวังที่วังยาง 2) สำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบ และ 3) พัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบจากแห้วของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงเกษตรสร้างสรรค์สมหวังที่ วังยางให้เหมาะสมเพื่อขยายกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และสร้างแบรนด์ให้มีเอกลักษณ์ เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed method) โดยทำการสนทนากลุ่มกับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงเกษตรสร้างสรรค์สมหวังที่วังยาง จำนวน 12 คน เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบจากแห้ว เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการตลาด และทำแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภค โดยนำตัวอย่างข้าวเกรียบไปให้ผู้บริโภคทาน แบบ Blind test เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลความคิดเห็นของผู้บริโภคอย่างแท้จริง จากผู้บริโภคจำนวน 34 คนผลการศึกษา พบว่า สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงเกษตรสร้างสรรค์สมหวังที่วังยางยังขาดความรู้ด้านการตลาดและการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ จากแบบสอบถามผู้บริโภคพบว่า ร้อยละ 67.6 ชอบข้าวเกรียบจากแห้วเพราะไม่คาวและไม่เค็มเท่าข้าวเกรียบเนื้อสัตว์ และพบว่าสิ่งที่ควรปรับปรุงให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้ากลุ่ม วันรุ่นและวัยทำงานคือ การลดขนาดลงให้พอดีคำ ปรับรสชาติให้เข้มข้นหรือชัดเจน โดยให้มีเอกลักษณ์มากขึ้น รสชาติที่พัฒนาขึ้นใหม่โดยอ้างอิงจากรสชาติยอดนิยมสำหรับขนมไทยคือ รสสาหร่าย และรสบาบีคิว โดยมีการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากชนิดถุงฟอยด์สีเงินด้านหน้าใส พัฒนาปรับปรุงเป็นแบบถุงกระดาษคราฟต์สีน้ำตาลเจาะหน้าต่างใส และปรับเปลี่ยนฉลากสินค้าสร้างเอกลักษณ์ใหม่ให้มีสีสัน |