การยืมคำอันเนื่องมาจากการสัมผัสภาษาของผู้พูดภาษาไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
รหัสดีโอไอ
Creator วรรณวนัช อรุณฤกษ์
Title การยืมคำอันเนื่องมาจากการสัมผัสภาษาของผู้พูดภาษาไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
Publisher สถาบันภาษาและกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
Publication Year 2567
Journal Title มังรายสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Journal Vol. 12
Journal No. 2
Page no. 69 - 86
Keyword การสัมผัสภาษา, คำยืม, ภาษาไทถิ่น, ภาษาไทใหญ่, บ้านเวียงหวาย
URL Website https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mrsj/index
Website title มังรายสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ISSN 2673-0170 (Online)
Abstract บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการยืมคำอันเนื่องมาจากการสัมผัสภาษาของผู้พูด ภาษาไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเก็บข้อมูลจากผู้พูดภาษาไทใหญ่ 3 ระดับอายุ ได้แก่ ผู้พูดภาษาไทใหญ่ที่มีอายุ 20 - 25 ปี จำนวน 5 คน ผู้พูดภาษาไทใหญ่ ที่มีอายุ 40 - 45 ปี จำนวน 5 คน และผู้พูดภาษาไทใหญ่ที่มีอายุ 60 - 65 ปี จำนวน 5 คน รวมทั้งหมด 15 คน ทั้งนี้ได้ใช้เครื่องมือคือตารางชุดคำศัพท์และการสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลคำศัพท์ ที่ผู้บอกภาษาใช้ในชีวิตประจำวัน ผลการวิจัยพบว่า ผู้พูดภาษาไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากจะใช้คำศัพท์ภาษาไทใหญ่ในการสื่อสารแล้ว ยังยืมคำศัพท์จากภาษาไทยเหนือ และภาษาไทยมาตรฐานมาใช้ในชีวิตประจำวันด้วย สำหรับการยืมคำอันเนื่องมาจากการสัมผัสภาษาของผู้พูดภาษาไทใหญ่ในพื้นที่นี้ แบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ การยืมแบบทับศัพท์ การยืมแบบปนภาษา และการยืม แบบผสม ซึ่งปรากฏทั้งในคำมูล คำผสาน และคำผสม ลักษณะการยืมคำศัพท์เหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึง การสัมผัสภาษาอันเป็นปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้คำศัพท์ในกลุ่มผู้พูดภาษาไทใหญ่ทั้ง 3 ระดับอายุ ทั้งนี้การวิจัยนี้อาจเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในสังคมไทย รวมถึงยังอาจเป็นประโยชน์ต่อชุมชนไทใหญ่ที่จะวางนโยบายในการอนุรักษ์ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ของตนไว้ให้คงอยู่ต่อไป
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ