![]() |
รูปแบบความจงรักภักดีในตราสินค้าทางการเกษตรโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สุธีรา หมื่นแสน |
Title | รูปแบบความจงรักภักดีในตราสินค้าทางการเกษตรโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง |
Contributor | ศิริกุล ตุลาสมบัติ, วิยะดา ชัยเวช |
Publisher | คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Maejo Business Review |
Journal Vol. | 6 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 39-63 |
Keyword | การแข่งขันของธุรกิจ, ความจงรักภักดีในตราสินค้า, วิเคราะห์อารมณ์และความรู้สึก |
URL Website | https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MJBA |
Website title | website Maejo Business Review |
ISSN | 3056-9117 |
Abstract | การเปลี่ยนแปลงในสถานะของเกษตรกรในประเทศไทยเน้นไปที่ภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีผลต่อภาพลักษณ์ของเกษตรกรและกิจกรรมเกษตรกร พบว่าเกษตรกรมีอายุเฉลี่ยสูงขึ้นและจำนวนเกษตรกรรุ่นใหม่ลดลง ทำให้เกิดความขาดแคลนในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร เกษตรกรต้องการการพัฒนาเทคโนโลยีและมาตรฐานสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ เกษตรกรรุ่นใหม่ต้องพัฒนาทักษะในการเกษตรสมัยใหม่ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์อารมณ์และความรู้สึกของลูกค้า ช่วยในการวางแผนและการตัดสินใจของธุรกิจ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทและระดับความจงรักภักดีในตราสินค้าทางการเกษตร ผ่านเครื่องมือการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) โดยใช้การศึกษาในรูปแบบวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์และการสังเกตจากกลุ่มตัวอย่างของลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าทางการเกษตรจากธุรกิจ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำข้อมูลเข้าสู่แบบจำลองสำหรับการเรียนรู้ เพื่อวิเคราะห์ความคิดเห็นของลูกค้าด้วยเทคนิคการประมวลผลภาษาธรรมชาติ และการเรียนรู้ด้วยเครื่อง โดยใช้อัลกอริทึมการจำแนก 3 วิธี คือ 1) Support Vector Machines (SVM) 2) Na?ve Bayes 3) Decision Tree เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการจำแนกหมวดหมู่ของรูปแบบความจงรักภักดีในตราสินค้าทางการเกษตร จากผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มความพึงพอใจหรือลดความไม่พอใจของลูกค้าในผลิตภัณฑ์หรือบริการสามารถนำเสนอได้ด้วยข้อมูลที่ได้จากการใช้วิธีการจำแนกข้อมูลผ่านชุดการเรียนรู้ ความจงรักภักดีต่อตราสินค้าทางการเกษตรมีความสำคัญสูงสุดในระดับที่ 1 และลดลงเมื่อขึ้นไปยังระดับที่ 5 ในกลุ่มความคิดเห็นเชิงบวก (Positive) และมีความสำคัญสูงสุดในระดับที่ 1 และลดลงเมื่อขึ้นไปยังระดับที่ 2 ในกลุ่มความคิดเห็นเชิงลบ (Negative) โดยข้อมูลที่ได้นั้นสามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเปลี่ยนแปลงในสถานะของเกษตรกรในประเทศไทยเน้นไปที่ภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีผลต่อภาพลักษณ์ของเกษตรกรและกิจกรรมเกษตรกร พบว่าเกษตรกรมีอายุเฉลี่ยสูงขึ้นและจำนวนเกษตรกรรุ่นใหม่ลดลง ทำให้เกิดความขาดแคลนในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร เกษตรกรต้องการการพัฒนาเทคโนโลยีและมาตรฐานสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ เกษตรกรรุ่นใหม่ต้องพัฒนาทักษะในการเกษตรสมัยใหม่ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์อารมณ์และความรู้สึกของลูกค้า ช่วยในการวางแผนและการตัดสินใจของธุรกิจ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทและระดับความจงรักภักดีในตราสินค้าทางการเกษตร ผ่านเครื่องมือการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) โดยใช้การศึกษาในรูปแบบวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์และการสังเกตจากกลุ่มตัวอย่างของลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าทางการเกษตรจากธุรกิจ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำข้อมูลเข้าสู่แบบจำลองสำหรับการเรียนรู้ เพื่อวิเคราะห์ความคิดเห็นของลูกค้าด้วยเทคนิคการประมวลผลภาษาธรรมชาติ และการเรียนรู้ด้วยเครื่อง โดยใช้อัลกอริทึมการจำแนก 3 วิธี คือ 1) Support Vector Machines (SVM) 2) Na?ve Bayes 3) Decision Tree เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการจำแนกหมวดหมู่ของรูปแบบความจงรักภักดีในตราสินค้าทางการเกษตร จากผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มความพึงพอใจหรือลดความไม่พอใจของลูกค้าในผลิตภัณฑ์หรือบริการสามารถนำเสนอได้ด้วยข้อมูลที่ได้จากการใช้วิธีการจำแนกข้อมูลผ่านชุดการเรียนรู้ ความจงรักภักดีต่อตราสินค้าทางการเกษตรมีความสำคัญสูงสุดในระดับที่ 1 และลดลงเมื่อขึ้นไปยังระดับที่ 5 ในกลุ่มความคิดเห็นเชิงบวก (Positive) และมีความสำคัญสูงสุดในระดับที่ 1 และลดลงเมื่อขึ้นไปยังระดับที่ 2 ในกลุ่มความคิดเห็นเชิงลบ (Negative) โดยข้อมูลที่ได้นั้นสามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ |