กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนนทบุรี
รหัสดีโอไอ
Creator อนงค์ ไต่วัลย์
Title กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนนทบุรี
Contributor นวรัตน์ ชวนะโชติ, ลลิดา จูมโสดา, พัทรียา เห็นกลาง
Publisher คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2567
Journal Title Maejo Business Review
Journal Vol. 6
Journal No. 2
Page no. 19-38
Keyword กลยุทธ์การปรับตัว, ความอยู่รอดของวิสาหกิจชุมชน, วิสาหกิจชุมชน
URL Website https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MJBA
Website title website Maejo Business Review
ISSN 3056-9117
Abstract การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การปรับตัวที่ส่งผลต่อความอยู่รอดของวิสาหกิจชุมชน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การปรับตัวกับความอยู่รอดของวิสาหกิจชุมชน วิธีดำเนินการวิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนนทบุรีที่ได้รับการรับรองและขึ้นทะเบียน จำนวน 308 วิสาหกิจ โดยทำการแจกแบบสอบถาม 1 คน ต่อ 1 วิสาหกิจ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการหาความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis : CFA) และทดสอบข้อสมมติฐานจากสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling : SEM) ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การปรับตัวด้านการให้ความสำคัญกับลูกค้า กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และกลยุทธ์ด้านต้นทุน มีค่า p-value น้อยกว่า .05 จึงสรุปได้ว่า กลยุทธ์การปรับตัวทั้ง 4 ด้าน มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความอยู่รอดของวิสาหกิจชุมชน จากผลวิจัยดังกล่าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนควรเล็งเห็นถึงความสำคัญต่อการปรับตัว กล่าวคือ เมื่อสภาพแวดล้อมเป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ให้มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อความอยู่รอดและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้น ควรสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อให้เกิดความผูกพันในตัวสินค้าและบริการ สร้างความแตกต่างที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ปรับใช้เทคโนโลยีตามยุคสมัยใหม่เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงานและต้องบริหารด้านต้นทุนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ