การวิเคราะห์อิทธิพลของเนื้อหาเชิงการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำ ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รหัสดีโอไอ
Creator อารีรัตน์ ปานศุภวัชร
Title การวิเคราะห์อิทธิพลของเนื้อหาเชิงการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำ ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Contributor อัครวิชช์ รอบคอบ, พลาญ จันทรจตุรภัทร
Publisher คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2567
Journal Title Maejo Business Review
Journal Vol. 6
Journal No. 2
Page no. 115-139
Keyword การตัดสินใจซื้อซ้ำ, เนื้อหาเชิงการตลาด, แพลตฟอร์มติ๊กต๊อก
URL Website https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MJBA
Website title website Maejo Business Review
ISSN 3056-9117
Abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การวิเคราะห์อิทธิพลของเนื้อหาเชิงการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำ ผ่านแพลตฟอร์มติ๊กต๊อก ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยการเปิดตาราง Krejcie และ Morgan จำนวน 380 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า อิทธิพลของเนื้อหาเชิงการตลาด ด้านเนื้อหาเชิงให้คำแนะนำหรือความรู้ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำ ผ่านแพลตฟอร์มติ๊กต๊อก ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 4 สามารถอธิบายได้ว่า เนื้อหาเชิงให้คำแนะนำหรือความรู้ช่วยให้ความรู้แก่ผู้บริโภค ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าซ้ำ ดังนั้น ผู้ขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มติ๊กต๊อก TikTok ควรให้คำแนะนำหรือแบ่งปันความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค โดยการสร้างเนื้อหาที่เป็นพื้นที่ให้ติดตามข่าวสารและองค์ความรู้ใหม่ ๆ พร้อมทั้งให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และครบถ้วน ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค นอกจากนี้ ควรนำเสนอเนื้อหาที่มีความสนุกสนานและบันเทิง เพื่อดึงดูดความสนใจและสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคติดตามเนื้อหาต่อไป ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความไว้วางใจ ความเชื่อมั่น และความภักดีจากผู้บริโภคในระยะยาว
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ