![]() |
การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาบ้านหนองตาใกล้ ตำบลหนองเม็ก อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | 1. สุรชัย ชูคง 2. ธีรวัฒน์ หินแก้ว 3. พีระยุทธ ศิลาพรหม 4. วนิดา ณ ลำพูน 5. สุพัตรา บุตราช |
Title | การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาบ้านหนองตาใกล้ ตำบลหนองเม็ก อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี |
Publisher | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย |
Journal Vol. | 17 |
Journal No. | 61 |
Page no. | 67 |
Keyword | ป่าชุมชน, การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม, การจัดการป่าชุมชน |
URL Website | https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru |
Website title | วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย |
ISSN | 2774-1109 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนของประชาชนบ้านหนองตาใกล้ ตำบลหนองเม็ก อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 2) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนของประชาชน และ 3) ประเมินผลรูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนของประชาชน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จำนวน 297 คน และแบบสัมภาษณ์คณะกรรมการป่าชุมชน จำนวน 32 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการป่าชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.47) คณะกรรมการป่าชุมชนให้ความสำคัญกับการจัดการป่าชุมชนมากขึ้นกว่าเดิม ก่อนการดำเนินการพัฒนา การมีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.72) หลังการดำเนินการพัฒนา ระดับการมีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.41) ส่วนการดำเนินงานด้านการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชน โดยใช้กระบวนการ A-I-C ทั้ง 4 ด้าน คือ 1) การมีส่วนร่วมในการคิด วางแผน และตัดสินใจ 2) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ 3) การมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ 4) การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล การประเมินผลรูปแบบการมีส่วนร่วมโดยสร้างจิตสำนึกและความสามัคคีในการอนุรักษ์ป่าชุมชน สร้างบทบาทหน้าที่และเป็นแรงขับเคลื่อนของการอนุรักษ์ป่าชุมชนและไม่ทำลายป่า รวมถึงบูรณาการองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับชุมชนและสามารถมีภาคีเครือข่ายในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ผลของการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม คือ ทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น หลังจากการพัฒนาการมีส่วนร่วม |