![]() |
Rabab ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | เกษร เอมโอด |
Title | Rabab ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
Contributor | - |
Publisher | วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | Liberal Arts Review |
Journal Vol. | 17 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 243-256 |
Keyword | Rabab, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, การแพร่กระจาย |
URL Website | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/issue/view/17262 |
Website title | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/index |
ISSN | 2730-2296 |
Abstract | การศึกษา เรื่อง Rabab ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและการแพร่กระจายของราบับ (Rabab) ซึ่งเป็นพิณชนิดหนึ่ง ราบับ (Rabab) ได้แพร่กระจายไปทั่วเอเชียตะวันตก เอเชียกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ราบับ (Rabab) มีลักษณะหลากหลาย อาจมีต้นกำเนิดในอัฟกานิสถาน (จักรวรรดิกาสนาวิยะห์มีศูนย์กลางอยู่ที่กาสนีที่ตั้งอยู่ในอัฟกานิสถานปัจจุบัน) ปรากฏในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย และเป็นที่ยอมรับประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 23 สำหรับราบับ (Rabab) ได้เข้ามาสู่ดนตรีฮินดูสถานในรูปโฉมของ ซาโรด (Sarod) ในอัฟกานิสถาน ราบับ (Rabab) เป็นเครื่องดนตรีที่มีความโดดเด่นในภูมิภาคนี้ เช่นเดียวกับปากีสถานและแคชเมียร์ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปรากฏหลักฐานว่ามีพิณลูท (Lute) ลักษณะคล้ายคลึงกันกับราบับ (Rabab) ของประเทศอินเดีย เกิดในยุคสมัยที่ใกล้เคียงกัน คือในช่วงราชวงศ์โมริยะและราชวงศ์คุปตะเป็นช่วงที่มีความเคลื่อนไหวในด้านการเมืองการปกครอง การค้าขาย และศาสนาจึงเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการแพร่กระจายทางศิลปวัฒนธรรม โดยพบที่ประเทศไทย ประเทศเวียดนาม และประเทศอินโดนีเซีย สำหรับประเทศไทยปรากฏหลักฐานประติมากรรมปูนปั้นรูปนักดนตรีดีดพิณในบริเวณภาคกลางที่เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี ที่พิพิธภัณฑ์จาม ประเทศเวียดนาม และที่มหาสถูปโบโรบูดูร์หรือบุโรพุทโธ ประเทศอินโดนิเซีย |