![]() |
การสร้างสรรค์เทศกาลศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ใจบุญ แย้มยิ้ม |
Title | การสร้างสรรค์เทศกาลศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ |
Contributor | - |
Publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | Liberal Arts Review |
Journal Vol. | 17 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 150-174 |
Keyword | เทศกาลศิลปะการแสดงพื้นบ้าน, การถ่ายทอดสดออนไลน์, สถานที่จริง |
URL Website | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/issue/view/17262 |
Website title | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/index |
ISSN | 2730-2296 |
Abstract | การศึกษาวิจัย เรื่อง การสร้างสรรค์เทศกาลศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของผู้ประกอบการศิลปะการแสดงพื้นบ้านของตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ 2. ศึกษาแนวทางและสร้างสรรค์การจัดเทศกาลศิลปะการแสดงพื้นบ้านของชาวตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ และ 3. เพื่อประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมจากการลงทุน (ROI/SROI) วิธีการดำเนินการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การจัดเวทีประชาคม การถอดบทเรียนและการคืนข้อมูลสู่ชุมชน ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาหลัก คือ สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการศิลปะการแสดงพื้นบ้านฯ ทำให้หลายพื้นที่ไม่สามารถทำการแสดงได้ เจ้าภาพแจ้งเลื่อนหรือยกเลิก ปัญหารอง คือ ขาดการสื่อสารการตลาด ความนิยมชมการแสดงพื้นบ้านที่ลดลง คนหันไปเสพสื่อใหม่ เน้นชมออนไลน์ แนวทางการจัดงานเทศกาลศิลปะการแสดงพื้นบ้านฯ จำนวน 11 แนวทาง ได้แก่ 1. ชูอัตลักษณ์จากรากเหง้าทำให้โดดเด่น 2. จัดหมวดหมู่กิจกรรมและพื้นที่ 3. มีกิจกรรมการเรียนรู้ นิทรรศการและการเสวนา 4. สร้างแพลทฟอร์มเพื่อช่วยศิลปิน 5. สร้างจุดเน้นนำสายตาภายในงาน 6. สร้างโครงเรื่องให้น่าติดตาม 7. หยิบเรื่องราวของชีวิตนักแสดงมาเล่า 8. เชิญผู้เชี่ยวชาญ ศิลปินมาร่วมพูดคุยและทำกิจกรรม 9. จัดไลฟ์สดแบบออนไลน์ 10. มีพ่อค้าแม่ค้านำสินค้ามาขาย และ 11. ชุมชนเป็นเจ้าของเทศกาล หน่วยงานต่าง ๆ เป็นส่วนสนับสนุน โดยสร้างสรรค์การจัดงานเทศกาลศิลปะการแสดงพื้นบ้าน 5 ขั้นตอน เป็นรูปแบบการถ่ายทอดสดออนไลน์ (Live Steaming) ผสานการจัดในสถานที่จริง (On ground) ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการลงทุน (ROI) หลังจัดงานเทศกาลฯ คณะโขนสดเด็กครูวิกฉิมพลี ROI = 31 % รายได้รวมเฉลี่ยต่อปี จำนวน 720,000 บ. คณะดนตรีไทยบ้านศรีเกตุ ROI = 82 % รายได้รวมเฉลี่ยต่อปี จำนวน 1,440,000 บ. คณะกลองยาวบัญญัติศิลป์ ROI = 33 % รายได้รวมเฉลี่ยต่อปี จำนวน 288,000 บ. คณะหมอทำขวัญนาคขวัญเรือนลูกปราการ ROI = 100 % รายได้รวมเฉลี่ยต่อปี จำนวน 672,000 บ. สำหรับผลตอบแทนทางสังคม (SROI) มูลค่าการลงทุนโครงการจัดงานเทศกาลฯ จำนวนทั้งสิ้น 410,744.71 บ. สามารถสร้างมูลค่าผลประโยชน์จากการลงทุน จำนวน 3,741,866.35 บ. เมื่อนำมาคำนวณการประเมินผลกระทบทางสังคมเทียบกับเงินลงทุนดำเนินการ จำนวน 1 บาท จะได้ผลตอบแทนทางสังคม SROI = 9.11 บาท สรุปได้ว่า เป็นโครงการที่น่าลงทุน |