การศึกษาคาริโอไทป์ของตั๊กแตนหนวดสั้นบางชนิดด้วยวิธีการย้อมสีแบบธรรมดา
รหัสดีโอไอ
Creator กฤษณ์ พิเนตรเสถียร
Title การศึกษาคาริโอไทป์ของตั๊กแตนหนวดสั้นบางชนิดด้วยวิธีการย้อมสีแบบธรรมดา
Contributor ณัฐพร จิรวัฒนาสมกุล, ณิชานันท์ กุตระแสง, ชญานิน นิวงษา, ไพลิน แก้วนิวงศ์
Publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Publication Year 2568
Journal Title KKU Science Journal
Journal Vol. 53
Journal No. 1
Page no. 67-80
Keyword พันธุศาสตร์เซลล์, ตั๊กแตนหนวดสั้น, คาริโอไทป์
URL Website https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ
Website title Thai Journal Online (ThaiJO)
ISSN 3027-6667
Abstract การศึกษาคาริโอไทป์ตั๊กแตนหนวดสั้น (short-horned grasshopper) จำนวน 3 ชนิด ในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ทำการเตรียมโครโมโซมจากลำไส้ ด้วยวิธีการตรงโดยการฉีดสารโคลชิซีนเข้าสู่ช่องท้อง จากนั้นทำการย้อมสีโครโมโซมแบบธรรมดาด้วยสีจิมซ่าความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษาพบว่าตั๊กแตนมีจำนวนโครโมโซมดิพลอยด์ (2n) และสูตรคาริโอไทป์ดังนี้ ตั๊กแตนปาทังก้า (Patanga succincta) เพศผู้ 2n (23) = L10t + M 2t+ S10t + (X0) และเพศเมีย 2n (24) = L8t + M4t + S10t + (XX) จำนวนโครโมโซมตั๊กแตนฝ้าย (Cyrtacanthacris tatarica) เพศผู้ 2n (23) = L8t + M6t + S8t + (X0) และเพศเมีย 2n (24) = L10t + M4t + S8t + (XX) และจำนวนโครโมโซมตั๊กแตนคอแหวน (Hieroglyphus banian) เพศผู้ 2n (23) = L8t + M8t +S6t + (XO) และเพศเมีย 2n (24) = L8t+ S14t + (XX) สรุปผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าตั๊กแตนหนวดสั้นเพศผู้ทุกชนิดมีโครโมโซมดิพลอยด์ (2n) เท่ากับ 23 แท่ง จำนวนโครโมโซมพื้นฐานเท่ากับ 23 ประกอบด้วยโครโมโซมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ส่วนตั๊กแตนหนวดสั้นเพศเมียทุกชนิดมีโครโมโซมดิพลอยด์ (2n) เท่ากับ 24 แท่ง จำนวนโครโมโชมพื้นฐานเท่ากับ 24 ประกอบด้วยโครโมโซมชนิดขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก สามารถแยกโครโมโซมเพศระหว่างตั๊กแตนเพศผู้และเพศเมียได้ สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้เปรียบเทียบกับตั๊กแตนสายพันธุ์อื่น ๆ ที่พบในพื้นที่
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ