พฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกรกับการพัฒนาแนวทางลดการใช้สารเคมีในการผลิตทุเรียนเพื่อการส่งออกตำบลกะหรอ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช
รหัสดีโอไอ
Creator เยาวมาลย์ เขียวสอาด
Title พฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกรกับการพัฒนาแนวทางลดการใช้สารเคมีในการผลิตทุเรียนเพื่อการส่งออกตำบลกะหรอ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Contributor สุพพัต เมืองศรีนุ่น, ปิยะวรรณ เนื่องมัจฉา
Publisher คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
Publication Year 2567
Journal Title วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น
Journal Vol. 46
Journal No. 2
Page no. 19-32
Keyword มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี, ทุเรียน, สารเคมีกำจัดแมลง
URL Website https://li01.tci-thaijo.org/index.php/kochasarn
Website title https://li01.tci-thaijo.org/index.php/kochasarn
ISSN ISSN 3027-7299 (Print);ISSN 2985-0835 (Online)
Abstract ปัจจุบันเกษตรกรมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรจำนวนมาก จึงมีโอกาสสัมผัสและได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางลดการใช้สารเคมีของเกษตรกรด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม โดยใช้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรในอำเภอนบพิตำจำนวน 32 คน ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ได้ปฏิบัติตนทุกครั้ง ก่อนการฉีดพ่นสารเคมี ขณะฉีดพ่นสารเคมี และหลังการฉีดพ่นสารเคมี และคัดเลือกเกษตรกรแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อสร้างแปลงตัวอย่างตามมาตรฐานคุณภาพทุเรียนเพื่อการส่งออก โดยแบ่งพื้นที่เก็บตัวอย่าง 2 โซน คือจุดเก็บตัวอย่างพื้นที่ปลูกทุเรียนซึ่งไม่ใช่สารเคมีและจุดเก็บตัวอย่างพื้นที่ปลูกทุเรียนซึ่งมีการใช้สารเคมี ผลการศึกษาปริมาณธาตุอาหารพืชในพื้นที่เก็บตัวอย่าง 2 โซน มีอินทรียวัตถุอยุ่ในระดับปานกลาง ธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองอยู่ในระดับต่ำ สำหรับฟอสฟอรัสและซัลเฟอร์มีค่าต่ำสุดและสูงสุดห่างกันมากเนื่องจากพื้นที่ปลูกไม่เสมอทำให้การกระจายของปุ๋ยไม่ทั่วถึง สำหรับปริมาณสารเคมีตกค้างในดิน น้ำ และทุเรียนทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มคาร์บาเมต กลุ่มออร์กาโนคลอรีน และกลุ่มไพรีทรอยด์ ด้วยเทคนิค GC-MS/MS ผลการศึกษาพบว่าไม่พบการตกค้างของสารเคมีกำจัดแมลงทั้ง 4 กลุ่ม แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรมีความรู้ในการใช้สารเคมี ดังนั้นการทำสวนทุเรียนตามมาตรการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรเป็นการสร้างความยั่งยืนทั้งเกษตรกร ผู้บริโภค สิ่งแวดล้อมและการส่งออกไปยังต่างประเทศ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ