![]() |
อุปกรณ์การตรวจวิเคราะห์บนกระดาษสำหรับการตรวจวัดปริมาณกรดแอซิติกในน้ำส้มสายชูหมักตาลโตนด |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | เวคิน หนูนำวงศ์ |
Title | อุปกรณ์การตรวจวิเคราะห์บนกระดาษสำหรับการตรวจวัดปริมาณกรดแอซิติกในน้ำส้มสายชูหมักตาลโตนด |
Contributor | ณิชา ประสงค์จันทร์, โกสินทร์ ทีปรักษพันธ์ |
Publisher | หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (JSTEL) |
Journal Vol. | 16 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 109-129 |
Keyword | อุปกรณ์การตรวจวิเคราะห์บนกระดาษ, การปั๊มด้วยตรายาง, เซ็นเซอร์วัดสี, น้ำส้มสายชูหมัก, ตาลโตนด |
URL Website | http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/index |
Website title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ |
ISSN | 3057-1154 |
Abstract | น้ำส้มสายชูเป็นเครื่องปรุงรสเปรี้ยวที่นิยมใช้สำหรับการปรุงอาหาร น้ำส้มสายชูหมักตาลโตนด เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่พบมากในพื้นที่ภาคใต้ ปัญหาของน้ำส้มสายชูหมักตาลโตนดคือขาดความเสถียรในเรื่องของความเปรี้ยว เนื่องจากไม่มีวิธีการทดสอบ ทำให้คุณภาพของน้ำส้มสายชูหมักตาลโตนดที่ผลิตได้ในแต่ละครั้งมีความแตกต่างกัน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 204) พ.ศ. 2543 เรื่องน้ำส้มสายชู กำหนดมาตรฐานของน้ำส้มสายชูหมักว่าต้องมีปริมาณกรดแอซิติกไม่น้อยกว่า 4 กรัม/100 มิลลิลิตร หรือร้อยละ 4 โดยมวลต่อปริมาตร (%w/v) ดังนั้นต้องมีวิธีการวิเคราะห์ปริมาณของกรดแอซิติกเพื่อควบคุมคุณภาพน้ำส้มสายชูหมัก งานวิจัยนี้พัฒนาอุปกรณ์การตรวจวิเคราะห์ปริมาณของกรดแอซิติกซึ่งสามารถบ่งชี้ระดับของความเปรี้ยวของน้ำส้มสายชูหมักตาลโตนด วิธีวิเคราะห์อาศัยหลักการของสารจำกัดปริมาณ (limiting reagent) ในกระบวนการไทเทรต โดยสังเกตปฏิกิริยาจากการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์บนอุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์บนกระดาษ ถ่ายภาพด้วยสมาร์ทโฟน และแปลผลเป็นความเข้มสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน และสีเทา ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม อุปกรณ์การตรวจวิเคราะห์บนกระดาษ มีสมรรถนะของการวิเคราะห์โดยมีช่วงความเป็นเส้นตรง 0.001–0.06 M มีสมการเส้นตรง คือ y = 1,591.7x+0.4772 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.991 มีค่าขีดจำกัดของการตรวจวัด (LOD) และปริมาณต่ำสุดของการตรวจวัด (LOQ) เท่ากับ 0.001 และ 0.003 M ตามลำดับ ผลการศึกษาความแม่นยำพบว่าร้อยละการได้กลับคืน (%recovery) มีค่าอยู่ใน ช่วงร้อยละ 91.73±19.17 ถึง 100.52±8.48 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ยอมรับได้ โดยมีร้อยละเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ของการวิเคราะห์ภายในวันเดียวกันและการวิเคราะห์ระหว่างวันเท่ากับ 3.69–13.18 และ 3.71–14.61 %RSD ตามลำดับ นำอุปกรณ์การตรวจวิเคราะห์บนกระดาษที่พัฒนาขึ้นมาตรวจวิเคราะห์ปริมาณของกรดแอซิติกในตัวอย่างน้ำส้มสายชูหมักตาลโตนดจำนวน 7 ตัวอย่างที่ซื้อจากร้านค้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา พบว่า สามารถตรวจพบปริมาณของกรดแอซิติกในช่วง 2.47±0.62 ถึง 3.60±0.73%w/v โดยเมื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ที่ได้จากวิธีการทดสอบด้วยอุปกรณ์การตรวจวิเคราะห์บนกระดาษกับผลการวิเคราะห์จากศูนย์บริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับ .05 |