![]() |
ปริมาณฝุ่น PM2.5 ของธูปจากขี้เลื่อยไม้สักและผงใบมะกรูดในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ธิติ วานิชดิลกรัตน์ |
Title | ปริมาณฝุ่น PM2.5 ของธูปจากขี้เลื่อยไม้สักและผงใบมะกรูดในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน |
Contributor | จุดตะวัน ณวรรณ, สุภาภรณ์ ธราสุขกุล, ไตรรัตน์ เนียมสุวรรณ |
Publisher | หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (JSTEL) |
Journal Vol. | 15 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 274-281 |
Keyword | Teak sawdust, Density, Incense sticks, Kaffir lime leaves powder |
URL Website | http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/index |
Website title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ |
ISSN | 2651-074X |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณฝุ่น PM2.5 ของธูปจากขี้เลื่อยไม้สักและผงใบมะกรูดในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน โดยได้ทำการหาค่าความชื้นและความหนาแน่นของขี้เลื่อยไม้สักและผงใบมะกรูด รวมถึงทำการผลิตธูปในอัตราส่วนขี้เลื่อยไม้สักต่อผงใบมะกรูด จำนวน 6 สูตร ได้แก่ สูตร A (100: 0) สูตร B (80: 20) สูตร C (60: 40) สูตร D (40: 60) สูตร E (20: 80) และสูตร F (0: 100) จำนวนสูตรละ 10 ซ้ำ รวมทั้งสิ้น 60 แท่ง ผลการทดลองพบว่าค่าความชื้นต่ำที่สุดคือขี้เลื่อยไม้สักซึ่งมีค่าความชื้นเฉลี่ยร้อยละ 10.93±0.72 ส่วนค่าความหนาแน่นที่สูงที่สุดคือผงใบมะกรูดซึ่งมีค่าความหนาแน่นเฉลี่ย 239.06±6.87 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร และธูปสูตร A มีปริมาณฝุ่น PM2.5 น้อยที่สุดเฉลี่ย 266.96±9.21 µg/m3 โดยปริมาณของผงใบมะกรูดที่เพิ่มขึ้นในธูปจะส่งผลต่อปริมาณความหนาแน่นของธูปทำให้ปริมาณฝุ่น PM2.5 เพิ่มขึ้น |