![]() |
การพัฒนาสมรรถนะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการสร้างการ์ตูนช่อง เรื่อง ฮอร์โมนพืช |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อรรถพล หอมไม้ |
Title | การพัฒนาสมรรถนะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการสร้างการ์ตูนช่อง เรื่อง ฮอร์โมนพืช |
Contributor | สันติชัย อนุวรชัย, พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ |
Publisher | หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (JSTEL) |
Journal Vol. | 15 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 194-211 |
Keyword | Creativity and innovation Competency, Project–based learning, Comics |
URL Website | http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/index |
Website title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ |
ISSN | 2651-074X |
Abstract | การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาสมรรถนะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้โครงการเป็นฐาน ผ่านการสร้างการ์ตูนช่อง เรื่อง ฮอร์โมนพืช โดยการพัฒนาสมรรถนะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมนั้น วัดจาก 2 ส่วน คือ คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และร้อยละของคะแนนเมื่อเทียบกับคะแนนเต็มของแต่ละตัวชี้วัด ซึ่งสมรรถนะดังกล่าวมีทั้งหมด 8 ตัวชี้วัด โดยคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ได้มาจากการใช้แบบวัดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม มาวิเคราะห์คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ในแต่ละตัวชี้วัด ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดที่ 7 การมองความล้มเหลวเป็นโอกาสในการเรียนรู้ คือ ตัวชี้วัดที่มีผู้เรียนที่มีพัฒนาการสัมพัทธ์ระดับสูงมากเป็นจำนวนมากที่สุด ขณะที่ตัวชี้วัดที่ 3 การพรรณนา วิเคราะห์ และประเมินความคิดของตนเพื่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ คือ ตัวชี้วัดที่มีผู้เรียนที่มีพัฒนาการสัมพัทธ์ทางบวกเป็นจำนวนมากที่สุด ในส่วนของร้อยละของคะแนนเมื่อเทียบกับคะแนนเต็มของแต่ละตัวชี้วัด ซึ่งได้มาจากการเก็บสะสมคะแนนจากการสังเกตพฤติกรรมและตรวจสอบชิ้นงานของผู้เรียนที่แสดงถึงแต่ละตัวชี้วัดไว้ โดยใช้เครื่องมือการวิจัย 4 ชนิด พบว่า ตัวชี้วัดที่ผู้เรียนมีคะแนนสูงที่สุด คือ ตัวชี้วัดที่ 8 การนำความคิดสร้างสรรค์มาสร้างนวัตกรรมที่เป็นรูปธรรมและมีประโยชน์ สำหรับการศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีนั้น เก็บเครื่องมือโดยใช้บันทึกหลังสอน และบันทึกการนิเทศ แล้วนำมาสังเคราะห์ พบแนวปฏิบัติที่ดี 2 ประการ ได้แก่ 1) ครูควรให้อิสระทางความคิดแก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และ 2) การเพิ่มกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนกันภายในกลุ่มทำให้ผู้เรียนกล้าที่จะนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น |