![]() |
การพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวนของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | จรินทรา จันทอุดมสุข |
Title | การพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวนของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะ |
Contributor | อรพรรณ บุตรกตัญญู |
Publisher | หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (JSTEL) |
Journal Vol. | 15 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 179-193 |
Keyword | Number sense, Guided play experience provision, Young children, Development |
URL Website | http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/index |
Website title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ |
ISSN | 2651-074X |
Abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะเพื่อพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวนของเด็กปฐมวัย 2) ศึกษาพัฒนาการของความรู้สึกเชิงจำนวนของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะ กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กปฐมวัย อายุ 5–6 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแผนการจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะเพื่อส่งเสริมความรู้สึกเชิงจำนวน และแบบประเมินความรู้สึกเชิงจำนวนของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหาและบรรยายเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า 1) การพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวนของเด็กปฐมวัย มีการพัฒนาที่สูงขึ้นทั้งโดยรวมและรายด้าน โดยรายด้านมีการพัฒนาสูงขึ้นตามลำดับ คือ ด้านความเข้าใจเกี่ยวกับการนับ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการ ความเข้าใจเกี่ยวกับปริมาณ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนและความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ 2) พัฒนาการของความรู้สึกเชิงจำนวนของเด็กปฐมวัยในภาพรวมตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1–8 มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นตามลำดับ คือ 1.99 2.11 2.33 2.42 2.53 2.71 2.95 และ 2.98 เด็กมีการพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวน โดยเด็กสามารถนับจำนวน บอกปริมาณ เข้าใจการรวม การแยก ความสัมพันธ์และการเป็นตัวแทนผ่านการทำกิจกรรมคณิตศาสตร์และประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันได้ |