![]() |
ความหลากหลายพรรณไม้รอบและบนโบราณสถานวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | รัฐพล ศรประเสริฐ |
Title | ความหลากหลายพรรณไม้รอบและบนโบราณสถานวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
Contributor | สยาม อรุณศรีมรกต, อนงคณ์ หัมพานนท์, ทนงศักดิ์ จงอนุรักษ์, พระครูพิสุทธิ์บุญสาร, พระครูสิริชัยมงคล, พระมหานัธนิติสุมโน, สุวรรณี อับดุลรามัน, สุเฟียนีย์ ตาเละ, สุธิดา ป้องนอก, อัจฉรา ไวยพัฒน์ |
Publisher | หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ |
Journal Vol. | 13 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 286-300 |
Keyword | ความหลากหลายพรรณไม้, โบราณสถาน, วัดใหญ่ชัยมงคล |
URL Website | https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/ |
Website title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ |
ISSN | 1906-9790 |
Abstract | ความหลากหลายพรรณไม้ในโบราณสถานพบ 2 ดิวิชั่น 33 วงศ์ 47 สกุล 52 ชนิด ยกเว้นบนเสมาไม่พบพรรณไม้ ซึ่งวงศ์ที่พบทั้งรอบและบนโบราณสถาน 4 วงศ์ 3 สกุล 4 ชนิด สำหรับมอสส์พบในฤดูฝน อื่น ๆ ได้แก่ ไลเคน ความหนาแน่นพรรณไม้รอบโบราณสถาน พบว่าอโศกเซนคาเบรียล (Polyalthia longifolia (Benth) Hook. f.) มีความหนาแน่นมากที่สุด ส่วนบนบริเวณกำแพง พบโพ (Ficus religiosa L.) มีความหนาแน่นมากที่สุด เมื่อศึกษาการปกคลุมพื้นที่ของพรรณไม้รอบโบราณสถานพบหญ้านวลน้อย (Zoysia matrella (L.) Merr.) ปกคลุมร้อยละ 30 ของพื้นที่ บนบริเวณอุโบสถและบนบริเวณเจดีย์รายพบโพมากที่สุด บนบริเวณวิหารพบโพและไทรกร่าง (F. microcarpa L. f.) การปกคลุมพื้นที่ของพรรณไม้บนบริเวณกำแพงพบผักตำลึง (Coccinia grandis (L.) Voigt) ปกคลุมมากที่สุด บนบริเวณอุโบสถ บนบริเวณวิหารและเจดีย์รายพบหญ้าน้ำดับไฟ (Lindenbergia philippensis (Cham. & Schltdl.) Benth.) ปกคลุมมากที่สุด นิเวศวิทยารอบโบราณสถานพบว่าบริเวณที่พบพรรณไม้ส่วน-มากดินเป็นดินร่วนปนทรายและมีพื้นปูนซีเมนต์ ในขณะที่บนโบราณสถานสร้างมาจากปูนก่อ อิฐ และปูนฉาบ ส่วนระดับความสูงที่พบพรรณไม้และลักษณะบริเวณที่พบพรรณไม้บนโบราณสถานแตกต่างกัน พบลักษณะวิสัยพรรณไม้ 5 กลุ่ม ส่วนรอบโบราณสถานพบ 6 กลุ่ม |