![]() |
ความสัมพันธ์ของปัจจัยแวดล้อมบางประการต่อความหลากหลายของชนิดพันธุ์และการสะสมมวลชีวภาพของไม้ป่าในพื้นที่ทิ้งร้างจากการเกษตร อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ปณิดา กาจีนะ |
Title | ความสัมพันธ์ของปัจจัยแวดล้อมบางประการต่อความหลากหลายของชนิดพันธุ์และการสะสมมวลชีวภาพของไม้ป่าในพื้นที่ทิ้งร้างจากการเกษตร อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน |
Contributor | ถาวร อ่อนประไพ, อังคณา สมศักดิ์, ณิชาภัทร์ ดวงทิพย์, สุธีระ เหิมฮึก |
Publisher | หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ |
Journal Vol. | 13 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 271-285 |
Keyword | ความหลากหลายของชนิดพันธุ์, การสะสมมวลชีวภาพ, สมบัติของดิน, พื้นที่ทิ้งร้างจากการเกษตร |
URL Website | https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/ |
Website title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ |
ISSN | 1906-9790 |
Abstract | พื้นที่การเกษตรเดิมของเกษตรกรในอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน มีลักษณะเป็นพื้นที่ชายป่าธรรมชาติที่เชื่อมต่อกับพื้นที่เกษตร โดยเป็นพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันของชนิดพืชในสองพื้นที่ระหว่างแนวรอยต่อ โดยการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในช่วงที่เกิดการรบกวนสามารถเกิดขึ้นในบริเวณดังกล่าว การศึกษาในครั้งนี้จึงศึกษาองค์ประกอบชนิดพันธุ์ไม้ป่าในพื้นที่ 1) ป่าที่มีความสมบูรณ์ ป่าใกล้เคียงพื้นที่ชุมชน และพื้นที่ชายป่า และ 2) พื้นที่แปลงสำรวจที่เป็นพื้นที่ผ่านการทำการเกษตรมาก่อนและได้มีการปล่อยทิ้งร้างไว้ในระยะต่างๆ โดยทำการศึกษาสมบัติของดินบางประการ ได้แก่ ปฏิกิริยาดิน ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในดิน ปริมาณของฟอสฟอรัส ปริมาณโพแทสเซียม และทำการจัดอันดับปัจจัยดินกับกลุ่มชนิดไม้โดยใช้ค่าการสะสมมวลชีวภาพประเมินความสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่ามีชนิดไม้เด่น เช่น กรมเขา ติ้วเกลี้ยง ทะโล้ ประดู่ป่า และ ก่อแป้น เป็นต้น ปรากฏในพื้นที่ มีค่าดัชนีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ระหว่างประเภทพื้นที่สำรวจในช่วง 1.10 – 2.54 สามารถแบ่งปัจจัยด้านดินในพื้นที่ได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีสัมพันธ์กับธาตุอาหารในดิน และกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาดิน (pH) และสามารถจัดกลุ่มการสะสมมวลชีวภาพของพืชได้เป็น กลุ่มแปลงป่าธรรมชาติได้รับปัจจัยที่มีอิทธิพลจากความสูงจากระดับน้ำ ทะเล พื้นที่ทิ้งร้างเป็นพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยปริมาณธาตุอาหารและปฏิกิริยาดิน |