ข้อมูลความลึกพื้นทะเลชุดใหม่ในอ่าวไทยและทะเลอันดามันในเขตประเทศไทย
รหัสดีโอไอ
Creator เผชิญโชค จินตเศรณี
Title ข้อมูลความลึกพื้นทะเลชุดใหม่ในอ่าวไทยและทะเลอันดามันในเขตประเทศไทย
Contributor จันทิมา ปิยะพงษ์
Publisher หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Publication Year 2565
Journal Title วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้
Journal Vol. 13
Journal No. 2
Page no. 238-249
Keyword อ่าวไทย, ทะเลอันดามัน, ภูมิศาสตร์พื้นทะเล, ข้อมูลความลึกเชิงพื้นที่
URL Website https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/
Website title วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้
ISSN 1906-9790
Abstract ความเข้มแข็งทางวิชาการเป็นลักษณะบุคลิกภาพที่แสดงให้เห็นถึงนักเรียนที่หลีกเลี่ยงวิชาที่ยาก และนักเรียนที่เต็มใจที่จะเผชิญความยากเพื่อความสำเร็จในการเรียน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเข้มแข็งทางวิชาการในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งทางวิชาการวิชาวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 105 คน ที่กำลังศึกษาในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามความเข้มแข็งทางวิชาการวิชาวิทยาศาสตร์ ประกอบไปด้วย 4 ด้าน คือ 1) ความมุ่งมั่นในการเรียน (commitment) การควบคุม (control) ซึ่งประกอบด้วย 2 ด้านย่อย คือ 2) การควบคุมความพยายามในการเรียน (control–effort) 3) การควบคุมผลที่เกิดขึ้นจากการเรียน (control–affect) และ 4) ความท้าทายในการเรียน (challenge) ใช้ผลการเรียนวิทยาศาสตร์เฉลี่ย (GPA) ในภาคการศึกษาล่าสุดวิชาวิทยาศาสตร์เป็นตัวแทนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ หาค่าเฉลี่ยและจัดกลุ่มระดับความเข้มแข็งทางวิชาการ วิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งทางวิชาการวิชาวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างแบบกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (partial least squares–structural equation modeling: PLS–SEM) ซึ่งผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 62.86) มีความเข้มแข็งทางวิชาการวิชาวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดีมาก และนักเรียนที่เหลือ (ร้อยละ 37.14) มีความเข้มแข็งทางวิชาการวิชาวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 51.45 ในความมุ่งมั่นในการเรียน ร้อยละ 67.62 ในการควบคุมความพยายามในการเรียน และร้อยละ 49.52 การควบคุมผลที่เกิดขึ้นจากการเรียน) มีความเข้มแข็งทางวิชาการวิชาวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดีมาก ยกเว้นองค์ประกอบด้านความท้าทายในการเรียนที่นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 56.19) อยู่ในระดับดี แม้ว่านักเรียนมีองค์ประกอบของความเข้มแข็งทางวิชาการที่ดี แต่กลับพบว่ามีเพียงองค์ประกอบความมุ่งมั่นในการเรียนเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ (p < 0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าความมุ่งมั่นในการเรียนยังมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างแข็งแกร่งในระดับสูง (p < 0.01) ต่อองค์ประกอบอื่น ๆ ของความเข้มแข็งทางวิชาการด้วยเช่นกัน
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ