![]() |
การเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อทางจุลพยาธิวิทยาในหอยเจดีย์ปุ่มยอดแหลม Tarebia granifera (Lamarck, 1822) จากพื้นที่ปนเปื้อนโลหะหนัก (แคดเมียม) ที่ห้วยแม่ตาว จังหวัดตาก |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สมบัติ สิงหาแก้ว |
Title | การเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อทางจุลพยาธิวิทยาในหอยเจดีย์ปุ่มยอดแหลม Tarebia granifera (Lamarck, 1822) จากพื้นที่ปนเปื้อนโลหะหนัก (แคดเมียม) ที่ห้วยแม่ตาว จังหวัดตาก |
Contributor | ปิณิดา จรดล, เอกชัย จิรัฏฐิติกุล, ศิริกัญญา ธัญญากร, ประหยัด โภคฐิติยุกต์ |
Publisher | หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ |
Journal Vol. | 13 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 184-197 |
Keyword | ห้วยแม่ตาว, แม่น้ำเมย, แคดเมียม, หอยเจดีย์ปุ่มยอดแหลม (Tarebia granifera), ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ |
URL Website | https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/ |
Website title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ |
ISSN | 1906-9790 |
Abstract | ห้วยแม่ตาวเป็นลำน้ำขนาดเล็กที่เป็นสาขาของแม่น้ำเมย อยู่ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ของประเทศไทย ซึ่งพบการปนเปื้อนโลหะหนักแคดเมียมในแหล่งน้ำปริมาณสูงซึ่งเป็นผลพวงจากการทำเหมืองแร่สังกะสีในพื้นที่ต้นน้ำ การปนเปื้อนแคดเมียมในแหล่งน้ำผิวดินสูงเกินค่ามาตรฐานส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางจุลพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่อในหอยเจดีย์ปุ่มยอดแหลม (Tarebia granifera Lamarck, 1822) ซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่พบได้ทั่วไปในห้วยแม่ตาวและแม่น้ำเมย ในการศึกษานี้ได้เก็บตัวอย่างหอยจากพื้นที่ปนเปื้อนแคดเมียมและนำมาผ่านกระบวนการทางเนื้อเยื่อเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อจากอวัยวะต่าง ๆ โดยที่ตัวอย่างหอยที่เก็บจากแม่น้ำเมยถูกใช้เป็นกลุ่มอ้างอิง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าหอยตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ปนเปื้อนแคดเมียมมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อในอวัยวะต่าง ๆ เช่น เส้นใยกล้ามเนื้อในเนื้อเยื่อแผ่นเท้าผิดปกติ การลดจำนวนของซีเลียที่บริเวณซี่เหงือก เซลล์เยื่อบุลำไส้รูปร่างผิดปกติและการขยายออกของท่อภายในต่อมย่อยอาหาร การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อทางจุลพยาธิวิทยาของหอยเจดีย์ปุ่มยอดแหลมมีแนวโน้มสัมพันธ์กับพื้นที่ปนเปื้อนแคดเมียมและสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อนแคดเมียมได้ |