![]() |
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับการวิเคราะห์และการเปรียบเทียบเชิงพื้นที่และเวลาเพื่อศึกษาการกระจายของปริมาณและความหลากหลายชนิดของต้นไม้ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | เยาวเรศ จันทะคัต |
Title | การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับการวิเคราะห์และการเปรียบเทียบเชิงพื้นที่และเวลาเพื่อศึกษาการกระจายของปริมาณและความหลากหลายชนิดของต้นไม้ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน |
Publisher | หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ |
Journal Vol. | 13 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 169-183 |
Keyword | ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, ความหลากหลายของชนิดต้นไม้, การวิเคราะห์เชิงพื้นที่และเวลา, มหาวิทยาลัยสีเขียว |
URL Website | https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/ |
Website title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ |
ISSN | 1906-9790 |
Abstract | การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบเชิงพื้นที่และเวลาสำหรับการกระจายของปริมาณและความหลากหลายชนิดของต้นไม้ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ที่ตั้งในตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2564 ด้วยการคำนวณค่าดัชนีความหลากหลายด้วยวิธี Shanon–Wiener diversity index และการกระจายเชิงพื้นที่ของปริมาณและความหลากหลายชนิดของต้นไม้ด้วยเทคนิค average nearest neighbor ในโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ในปี 2560 มีปริมาณต้นไม้ 1,375 ต้น และค่าดัชนีความหลากหลายของต้นไม้อยู่ระหว่าง 0.038–0.531 หรือเฉลี่ย 0.180±0.139 (72 ชนิด) และในปี 2564 มีปริมาณต้นไม้ 1,357 ต้น และค่าดัชนีความหลากหลายของต้นไม้อยู่ระหว่าง 0.070–0.540 หรือเฉลี่ย 0.184±0.127 (74 ชนิด) สำหรับการกระจายเชิงพื้นที่ด้วยเทคนิค average nearest neighbor ของปริมาณต้นไม้ในสองปีดังกล่าว โดยมีการกระจายในแบบเกาะกลุ่ม ซึ่งเป็นไปตามการกำหนดสมมติฐานแบบมีทิศทางโดยสมมติฐานหลัก (H0) ค่าดัชนีความหลากหลายเท่ากับ 1 (การกระจายในแบบเกาะกลุ่ม) และสมมติฐานทางเลือก (HA) ค่าดัชนีความหลากหลายมากกว่า 1 (การกระจายในแบบกระจาย) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ทั้งนี้พบการกระจายเชิงพื้นที่ของต้นไม้ในพื้นที่ศึกษาตามเส้นถนนบริเวณทางเท้า และที่รกร้างเป็นส่วนใหญ่ โดยมีชนิดพรรณเด่นของต้นไม้ คือ มะขาม ในปี พ.ศ. 2560 และกระถิน ในปี พ.ศ. 2564 |