![]() |
การวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพไทยช่วงเวลา พ.ศ. 2493-2539 ด้วยกรอบเศรษฐศาสตร์การเมือง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ภาคภูมิ แสงกนกกุล |
Title | การวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพไทยช่วงเวลา พ.ศ. 2493-2539 ด้วยกรอบเศรษฐศาสตร์การเมือง |
Publisher | คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร |
Publication Year | 2562 |
Journal Title | วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร |
Journal Vol. | 15 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 1 |
Keyword | ความเหลื่อมล้ำ, ระบบสุขภาพไทย, กระบวนการแพทยานุวัตร, เศรษฐศาสตร์การเมือง, นโยบายการพัฒนา, นโยบายสุขภาพ |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/jssnu |
Website title | Journal of Social Sciences, Naresuan University |
ISSN | 1686-9192 |
Abstract | ปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพไทยเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและคงอยู่มายาวนาน ได้มีงานด้านเศรษฐศาสตร์สุขภาพจำนวนมากที่ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคมต่อความเหลื่อมล้ำสุขภาพ การรักษาและภาระการเงินสุขภาพในไทย อย่างไรก็ตามการใช้กรอบวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองในเรื่องความเหลื่อมล้ำสุขภาพก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่ออธิบายทำไมถึงมีความเหลื่อมล้ำในปัจจัยสังคมเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อสุขภาพ และผลกระทบของนโยบายการพัฒนาต่อความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพไทย บทความนี้มีจุดประสงค์ในการใช้กรอบเศรษฐศาสตร์การเมืองเพื่อ 1.) วิเคราะห์ปัจจัยทางสถาบันสามารถส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพไทย 2.) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงเวลาพ.ศ. 2493-2539 และนโยบายสุขภาพแห่งชาติซึ่งส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพไทยตามมา บทความนี้ได้ฉายภาพเส้นทางกระบวนการแพทยานุวัตรรวมถึงการพัฒนาของสถาบันชาติ สถาบันกษัตริย์และพุทธศาสนาในระบบสุขภาพไทย ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกระบวนการแพทยานุวัตรของยุโรปตะวันตก และส่งผลทำให้ระบบสุขภาพไทยเป็นระบบผสมระหว่างกลไกตลาดและการแทรกแซงจากรัฐ ซึ่งแตกต่างจากระบบรัฐสวัสดิการแบบยุโรปตะวันตกที่รัฐมีอำนาจในการแทรกแซงกิจกรรมประชาชนเพื่อการกระจายสวัสดิการให้ประชาชนอย่างทั่วถึง แต่ระบบสุขภาพไทย รัฐมีขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบจำกัดในการให้บริการสุขภาพประชาชน รัฐไทยเลือกที่จะให้เฉพาะกลุ่มประชากรที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกำหนดทิศทางนโยบายสุขภาพแห่งชาติอยู่ภายใต้ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงเวลาพ.ศ. 2493-2539 ได้ให้ความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกกว่าการลดความเหลื่อมล้ำและส่งผลให้นโยบายสุขภาพคำนึงถึงการเพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ยสุขภาพประชากรมากกว่าการลดความเหลื่อมล้ำเช่นกัน |