ปัจจัยการรับรู้ด้านการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกลุ่มผลิตภัณฑ์จากผ้าทอกะเหรี่ยงโปว์จังหวัดเพชรบุรี
รหัสดีโอไอ
Creator พิชาภพ บุญเลิศ
Title ปัจจัยการรับรู้ด้านการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกลุ่มผลิตภัณฑ์จากผ้าทอกะเหรี่ยงโปว์จังหวัดเพชรบุรี
Contributor ณัฐวุฒิ ฤทธิ์มาก, มรรยาท ลิ้มโอฬารสุขสกุล, สุธาสินี อัมพิลาศรัย, รอฟีกี หวันเหล็ม
Publisher คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Publication Year 2568
Journal Title วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
Journal Vol. 8
Journal No. 1
Page no. 90-105
Keyword การตลาดดิจิทัล, ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอกะเหรี่ยงโปว์, การตัดสินใจซื้อ, จังหวัดเพชรบุรี
URL Website https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS
Website title https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS
ISSN 2822-0463
Abstract บทนำ: กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอกะเหรี่ยงโปว์ จังหวัดเพชรบุรีมีการพัฒนาและจำหน่ายสินค้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยปัจจุบันช่องทางการการตลาดดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญและมีการแข่งขันทั่วโลก การปรับตัวของวิสาหกิจชุมชนจึงมีความจำเป็นต่อการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายให้มีประสิทธิภาพตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัย: 1. ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค 2. ศึกษาปัจจัยด้านการตลาดดิจิทัล 3. สร้างโมเดลสมการเชิงโครงสร้าง (SEM) ของปัจจัยด้านการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์จากผ้าทอหรี่ยงโปว์ จังหวัดเพชรบุรี ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นรูปแบบเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนที่มีความสนใจในผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย: พบว่า 1. ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่เคยซื้อสินค้าจากผ้าทอกะเหรี่ยงโปว์และมีความสนใจสินค้าจากผ้าทอประเภท เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ว่าเหมาะสำหรับเป็นของฝาก 2. ปัจจัยด้านการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์จากผ้าทอกะเหรี่ยงโปว์ มากที่สุด คือ การนำเสนอข้อมูลด้านความเป็นมา และความหมายของลวดลายผ้าทอ โดยสั่งซื้อผ่านช่องทางติ๊กต็อก นอกจากนี้ 3. การทดสอบโมเดลด้วยการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง พบว่าปัจจัยการตลาดดิจิทัลกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ การส่งเสริมการขาย การใช้เครื่องมือสื่อสารการตลาด การสร้างสรรค์เนื้อหา และช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ ทุกปัจจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ที่ระดับ CMIN/DF = 2.45 RMSEA = 0.044 GFI = 0.95 AGFI = .92 RMR = 0.034 NFI = 0.95 CFI = 0.97 TLI = 0.96 IFI = 0.93 และ P = 0.06 ทุกค่าสถิติอยู่ในระดับดี
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ