![]() |
การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชนมุสลิมในพื้นที่ เขตหนองจอกกรุงเทพฯเพื่อการจัดการขยะให้เป็นศูนย์อย่างยั่งยืน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ทศพร มะหะหมัด |
Title | การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชนมุสลิมในพื้นที่ เขตหนองจอกกรุงเทพฯเพื่อการจัดการขยะให้เป็นศูนย์อย่างยั่งยืน |
Contributor | นิติบดี ศุขเจริญ |
Publisher | คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน |
Journal Vol. | 8 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 64-77 |
Keyword | การจัดการ, ความยั่งยืน, การมีส่วนร่วมการสร้างเครือข่าย, ชุมชนมุสลิม, การจัดการขยะให้เป็นศูนย์ |
URL Website | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS |
Website title | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS |
ISSN | 2822-0463 |
Abstract | บทนำ: การจัดการขยะถือเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานครเพื่อแก้ไขปัญหาปริมาณสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในเขตพื้นที่โดยมุ่งศึกษา ระบบแบบแผนในชุมชนให้เกิดความเข้าใจสร้างความยั่งยืน โดยโครงการวิจัยเป็นการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชนมุสลิม ในพื้นที่ เขตหนองจอกกรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์ของการวิจัย: 1. เพื่อเป็นการเผยแพร่การดำเนินการจัดการขยะให้เป็นศูนย์ ของชุมชนต้นแบบแผ่นดินทองคอยรุดดีน เขตหนองจอก 2. เพื่อศึกษาสร้างรูปแบบชุมชนต้นแบบให้เกิดเป็นศูนย์กลางแห่งความยั่งยืนในเขตพื้นที่หนองจอก) 3.เพื่อสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชนมุสลิม 5 ชุมชน ในพื้นที่เขตหนองจอกเพื่อการจัดการขยะให้เป็นศูนย์อย่างยั่งยืน ด้วยการเรียนรู้ผ่านชุมชนต้นแบบ ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ ด้วยการเรียนรู้ผ่านชุมชนต้นแบบเพื่อสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมโดยมีการจัดสัมมนา ให้ความรู้ของทั้ง 5 ชุมชน ในพื้นที่เขตหนองจอก กรุงเทพฯ ด้วยการเรียนรู้ผ่านชุมชนต้นแบบ ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะให้สอดคล้องกับทุกมิติของชุมชน โดย ในชุมชนทั้ง5 ดังนี้ ดารุลมีนา, ลำสลิดทอง, ผดุงพันธ์, เรียบคลอง13, นุรุดดีนบ้านเกาะ, โดยเก็บข้อมูลแบ่งทีมวิจัย สัมภาษณ์ ลงพื้นที่ให้ความรู้แต่ละชุมชน ผลการวิจัย: พบว่ามีการแบ่งแยกการนำข้อเสนอของชุมชนต้นแบบไปประยุคต์ใช้ ทั้งในส่วนการบริหารจัดการ ขยะในรูปแบบต่างๆและสร้างมาตฐานการจัดการขยะนำมาซึ่งการพัฒนาคุณสมบัติในการเข้าสู่การเสนอรางวัลในครั้งต่อไป สรุป: ผลการวิจัยสามารถนำมาพัฒนาชุมชนนำรองทั้ง5ชุมชน ให้สอดคล้องของแต่ละชุมชนที่เป็นมิติชุมชนที่ต่างกัน |