![]() |
แนวทางการจัดการสื่อสารการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) กรณีศึกษา : คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ดารุณี พละการ |
Title | แนวทางการจัดการสื่อสารการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) กรณีศึกษา : คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี |
Contributor | อภิวรรณ ศิรินันทนา, บุษบง กีรติวศิน |
Publisher | คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน |
Journal Vol. | 8 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 56-63 |
Keyword | การจัดการสื่อสาร, เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี |
URL Website | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS |
Website title | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS |
ISSN | 2822-0463 |
Abstract | บทนำ: การประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) เป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษา อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนงานประกันคุณภาพให้มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยการจัดการสื่อสารและการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมจากบุคลากรทุกฝ่าย วัตถุประสงค์ของการวิจัย: 1.เพื่อศึกษาการจัดการสื่อสารการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์คุณภาพ 2. เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศรวมถึงการศึกษาการมีส่วนร่วมและปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานและค้นหาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการจัดการสื่อสาร 3. เพื่อเสริมสร้างความเป็นเลิศในการดำเนินงานด้านคุณภาพการศึกษา ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยใช้รูปแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหาร อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ในคณะนิเทศศาสตร์จำนวน 28 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพได้เลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่มีบทบาทในการกำกับงานประกันคุณภาพจาก 5 หลักสูตร หลักสูตรละ 2 คน รวม 10 คน การเก็บข้อมูลดำเนินการด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน เช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงลึก ผลการวิจัย: พบว่าด้านการสื่อสาร มหาวิทยาลัยได้ใช้ช่องทางที่หลากหลายและทันสมัยในการสื่อสารข้อมูลข่าวสาร ส่งผลให้บุคลากรมีความเข้าใจบทบาทหน้าที่และตระหนักในความสำคัญของงาน ด้านการมีส่วนร่วม บุคลากรส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การอบรมและการประชุมอย่างไรก็ตามยังพบอุปสรรคในด้านการนำองค์กรและการวางแผนเชิงกลยุทธ์ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาเพิ่มเติม สรุป: งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าควรมีการจัดเวทีสร้างความรู้และความเข้าใจอย่างต่อเนื่องพร้อมกำหนดแผนระยะยาว ที่ชัดเจนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาองค์กร การวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ดีควรมาจากการวิเคราะห์จุดเด่นของคู่เทียบและนำมาปรับใช้ นอกจากนี้ การพัฒนาระบบสารสนเทศที่ครอบคลุมทั้งภายในและภายนอก รวมถึงการสร้างขวัญกำลังใจให้บุคลากร จะช่วยเสริมสร้างจิตสำนึกรักองค์กรและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้ตอบสนองเกณฑ์การประเมินได้อย่างยั่งยืน |