![]() |
นวัตกรรมทางธุรกิจเพื่อยกระดับผลการดำเนินงานของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดพะเยา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วนัสนันท์ ธรรมยศ |
Title | นวัตกรรมทางธุรกิจเพื่อยกระดับผลการดำเนินงานของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดพะเยา |
Contributor | บังอร สวัสดิ์สุข |
Publisher | คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน |
Journal Vol. | 8 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 41-55 |
Keyword | นวัตกรรมทางธุรกิจ, ผลการดำเนินงาน, เกษตรอินทรีย์, จังหวัดพะเยา |
URL Website | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS |
Website title | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS |
ISSN | 2822-0463 |
Abstract | บทนำ: จังหวัดพะเยาเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการทำเกษตรอินทรีย์ แต่ยังคงเผชิญกับความท้าทายด้านการพัฒนาและบริหารจัดการธุรกิจ ซึ่งการนำนวัตกรรมทางธุรกิจมาใช้มีความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันในตลาด งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาการนำนวัตกรรมทางธุรกิจมาใช้เพื่อยกระดับผลการดำเนินงานของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดพะเยา วัตถุประสงค์ของการวิจัย: 1. เพื่อศึกษาปัจจัยนวัตกรรมทางธุรกิจที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดพะเยา 2. เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับผลการดำเนินงานของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดพะเยา ระเบียบวิธีวิจัย: ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรที่ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม PGS และ SDGsPGS (พืชผักและผลไม้) ในจังหวัดพะเยา จำนวน 173 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแจกแบบสอบถามด้วยตัวเองและออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย: 1. ปัจจัยนวัตกรรมทางธุรกิจส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดพะเยาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 สามารถพยากรณ์ผลการดำเนินงานของธุรกิจเกษตรอินทรีย์จังหวัดพะเยา คิดเป็นร้อยละ 56.80 เมื่อพิจารณาจากค่าน้ำหนักของปัจจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ พบว่า นวัตกรรมการตลาดส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดพะเยามากที่สุด รองลงมา คือ นวัตกรรมองค์กร และนวัตกรรมกระบวนการ ตามลำดับ 2. ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับผลการดำเนินงานของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดพะเยา ได้แก่ 1. สนับสนุนนวัตกรรมกระบวนการ 2. พัฒนานวัตกรรมการตลาด 3. ส่งเสริมนวัตกรรมองค์กร สรุป: ผลการวิจัยสามารถนำเสนอสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้ Y = 0.825 + 0.234(X3) + 0.230(X4) + 0.201(X2) |