![]() |
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ปณิธาน ศรีประเสริฐ |
Title | การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 |
Contributor | นภาภรณ์ ธัญญา, ศิลปชัย บูรณพานิช |
Publisher | คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน |
Journal Vol. | 7 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 73-82 |
Keyword | การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้การเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์, แนวคิดโซตาลโคดาย |
URL Website | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS |
Website title | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS |
ISSN | 2822-0463 |
Abstract | งานวิจัยเรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้การเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซตาล โคดายกับเกณฑ์ร้อยละ 80 (3) เพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามแนวคิดโซตาล โคดาย กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซตาล โคดาย , แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ , แบบทดสอบทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ และ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ใช้การทดสอบ ทีแบบกลุ่มเดี่ยว ( One-Sample T-Test) ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.17/88.33 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) การเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์และทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ย รีคอร์ดเดอร์ตาม แนวคิดโซลตาล โคดายกับเกณฑ์ร้อยละ 80 แบ่งได้เป็น 2 ตอนดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนรู้เรื่องการเป่า ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย สูง กว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 , ทักษะการเป่าขลุ่ย รีคอร์ดเดอร์หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรม การเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย สูงกว่า เกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ .05 (3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ที่อยู่ในระดับมากที่สุด |