![]() |
ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ราชา ธงภักดิ์ |
Title | ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม |
Contributor | เพ็ญสิริ ชาตินิยม |
Publisher | คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน |
Journal Vol. | 5 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 33-45 |
Keyword | เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน, ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม |
URL Website | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/index |
Website title | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/260819 |
ISSN | 2822-0463 |
Abstract | งานวิจัย เรื่อง ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน มีการวิจัยภาคสนาม มีการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และมีการผลิตงานสร้างสรรค์ต้นแบบ เพื่อใช้ในการอภิปรายองค์ความรู้ในกระบวนการที่ปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนงานวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ แนวคิด และทฤษฎี เกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ชุมชนหัตกรรมเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน 2. เพื่อสร้างรูปแบบกระบวนการสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีขั้นตอนดำเนินงานวิจัยดังต่อไปนี้ 1. วิเคราะห์บริบทของพื้นที่ชุมชนด่านเกวียนและกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน 2. สังเคราะห์องค์ความรู้จากการสำรวจผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากฐานแนวคิดของโมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อนำไปเป็นแนวทางการสร้างกลยุทธ์ให้เกิดกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 3. ศึกษากระบวนการสร้างนวัตกรรมทางสังคมเพื่อนำไปเป็นแนวทางการสร้างกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนด่านเกวียน ผลของการวิจัยทำให้ได้นวัตกรรมทางสังคมที่ใช้ในการผลักดันให้ชุนร่วมมือผลิตเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1. แรงกระตุ้น : วางผังด่านเกวียน 2. ข้อเสนอ : ผูกมิตรด่านเกวียน 3. ตัวต้นแบบ : โรดแมปด่านเกวียน 4. การยืนระยะ : ด่านเกวียนโฉมใหม่ 5. การขยายขนาด : ขยายเส้นทาง และ 6. ความเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ : ไปสู่เส้นชัย โดยแต่ละขั้นตอนนั้นได้มีการสร้างกลยุทธ์ เพื่อที่จะสามารถนำไปสู่จุดมุ่งหมาย คือ 1. ด้านกระบวนการ การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2. ด้านวัสดุ การนำของเสียจากการผลิตเข้าสู่กระบวนการอีกครั้ง และ 3. ด้านภูมิปัญญา การถ่ายทอดและกระจายองค์ความรู้สู่ชุมชนงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอ้างอิงชุมชน (Community-based Action Research) เป็นการวิจัยที่เกิดจากพลังแห่งการร่วมมือของชุมชนและสถาบันการศึกษา ที่ก่อให้เกิดการระดมทรัพยากรในท้องถิ่นจากทุกแหล่งมาสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ในการออกแบบและพัฒนาผลงานเครื่องปั้นนดินเผาด่านเกวียน บนพื้นฐานของทุนทางวัฒนธรรม ศิลปะกรรมท้องถิ่น แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย สร้างความตระหนักรู้ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในชุมชน |