![]() |
การพยาบาลผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดแดงปอดเรื้อรังร่วมกับภาวะหัวใจล้มเหลวตามกรอบทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม: กรณีศึกษา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วลัญช์รัช โชติตันติไพศาล |
Title | การพยาบาลผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดแดงปอดเรื้อรังร่วมกับภาวะหัวใจล้มเหลวตามกรอบทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม: กรณีศึกษา |
Publisher | สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารสถาบันราชประชาสมาสัย |
Journal Vol. | 8 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 16-28 |
Keyword | ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดแดงปอดเรื้อรัง, ภาวะหัวใจล้มเหลว, ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม |
URL Website | https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi |
Website title | https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi |
ISSN | 3057-0824 |
Abstract | กรณีศึกษาผู้ป่วยชายไทยอายุ 49 ปี มีอาการเหนื่อยง่ายเป็นๆ หายๆ มาหลายปี ระหว่างรับผู้ป่วยไว้ในความดูแล นำกรอบแนวคิดทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็มมาประยุกต์ใช้ในการพยาบาล โดยใช้ทฤษฎีระบบการพยาบาล 3 ทฤษฎีย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ 1) ทฤษฎีการดูแลตนเอง 2) ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเอง 3) ทฤษฎีระบบการพยาบาล กรณีศึกษานี้ใช้ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเองของโอเร็ม เป็นกรอบแนวคิด วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้อ่านได้เรียนรู้และเข้าใจถึงการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม โดยเฉพาะทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเอง ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเรื้อรัง และต้องการการดูแลเฉพาะทางจากพยาบาล เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย ก่อนจำหน่ายกลับบ้าน จุดเน้นทางการพยาบาล คือ กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยรายนี้ ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ 1) การประเมินปัญหาการดูแลตนเองของผู้ป่วยอย่างละเอียดและรอบคอบ 2) การประยุกต์ใช้ทฤษฎีโอเร็มในการสร้างแผนการพยาบาลที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วย 3) การส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย 4) การดูแลแบบองค์รวม โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยทางกาย จิตใจ และสังคมของผู้ป่วย เพื่อการดูแลที่ครอบคลุมและเหมาะสม ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมีการรับรู้ถึงความพร่องในการดูแลตนเองและจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากพยาบาล โดยพบปัญหาหลายด้าน เช่น การรับประทานอาหารและน้ำที่เหมาะสม และการปฏิบัติตามแผนการรักษา เมื่อได้รับการช่วยเหลือจากพยาบาลในการปรับปรุงความพร่องเหล่านี้ ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ดีขึ้น มีความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหลังจากกลับบ้าน การนำทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็มมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ช่วยให้พยาบาลสามารถวางแผนการดูแลที่เหมาะสมและมีเป้าหมายชัดเจน ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าใจโรคของตนเอง และสามารถปฏิบัติตามแผนการดูแลได้อย่างถูกต้องเมื่อกลับบ้าน จึงเป็นการพัฒนาทักษะการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในระยะยาว |