![]() |
การลอยตัวของฝุ่นบนถนนจากรถยนต์ไฟฟ้าภายใต้การทดสอบแบบคงตัวและการขับขี่เสมือนจริง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ศิรศักดิ์ พงษ์อมาตย์ |
Title | การลอยตัวของฝุ่นบนถนนจากรถยนต์ไฟฟ้าภายใต้การทดสอบแบบคงตัวและการขับขี่เสมือนจริง |
Contributor | วรวัฒน์ ทรงกิตติ, เอกไท วิโรจน์สกุลชัย |
Publisher | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
Journal Vol. | 18 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 149-159 |
Keyword | มลพิษที่ไม่ได้มาจากไอเสีย, รถยนต์ไฟฟ้า, ฝุ่นละอองขนาดเล็ก |
URL Website | https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/RMUTP |
Website title | วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
ISSN | 3027-8260 |
Abstract | เป็นที่ทราบกันดีว่ารถยนต์สันดาปภายในเป็นหนึ่งในแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศที่สำคัญที่สุด ซึ่งในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยได้ให้ความสำคัญถึงปัญหานี้และสนใจที่จะเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นเพื่อลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษางานวิจัยพบว่ารถยนต์ไฟฟ้ายังคงมีการปล่อย PM (Particulate Matter) ที่ไม่ได้มาจากไอเสีย (Non-Exhaust PM Emission) ได้แก่ การสึกหรอของยาง (Tyre wear) การสึกหรอของระบบเบรก (Brake wear) การสึกหรอของพื้นผิวถนน (Road surface wear) และการลอยตัวของฝุ่นบนถนน (Resuspension of road dust) นอกจากนี้ยังพบว่ามีตัวแปรสำคัญคือน้ำหนักของรถยนต์ และความเร็วของรถยนต์ที่ส่งผลต่อปริมาณการปล่อย PM ที่ไม่ได้เกิดจากไอเสีย งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการปล่อย PM แบบ Non-Exhaust ที่เกิดจากรถยนต์ไฟฟ้าโดยติดตั้งอุปกรณ์วัด ปริมาณความเข้มข้นของ PM แบบ Real-time ที่บริเวณด้านหลังของล้อหน้าซ้ายในขณะที่รถยนต์ไฟฟ้าเคลื่อนที่ งานวิจัยนี้ได้ทำการทดสอบ 3 รูปแบบ คือความเร็วในการขับขี่แบบคงที่ การเบรกรถยนต์ตามมาตรฐาน ISO 21994:2007 และการทดสอบในวัฏจักรการขับขี่เสมือนจริง ซึ่งแต่ละการทดสอบจะทำการเปรียบเทียบกับน้ำหนักที่ใช้ในการบรรทุกต่างกัน 200 kg จากการทดสอบทั้ง 3 รูปแบบพบว่า เมื่อรถยนต์ไฟฟ้ามีน้ำหนักบรรทุกเพิ่มขึ้นส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการปลดปล่อยของ PM สุทธิอย่างชัดเจน โดยในการทดสอบแบบความเร็วคงที่พบว่าเมื่อเปรียบเทียบน้ำหนักบรรทุกที่เท่ากัน ความเร็วที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้การปลดปล่อยของ PM10 เพิ่มขึ้น แต่เมื่อความเร็วเพิ่มขึ้นจาก 60 เป็น 80 km/hr พบว่าการปลดปล่อยของ PM1 และ PM2.5 จะเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก แต่จะส่งผลเฉพาะต่อการเปลี่ยนแปลงการปลดปล่อยของ PM10 เท่านั้น ในการเบรกตามมาตรฐาน ISO 21994:2007 น้ำหนักที่บรรทุกเพิ่มขึ้น 200 kg ส่งผลต่อการปลดปล่อย PM เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า และในการทดสอบแบบวัฏจักรการขับขี่เสมือนจริง การเร่งความเร็วเพื่อออกตัวและเบรกเพื่อชะลอความเร็วส่งผลให้การปลดปล่อยของ PM จะมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งนี้สภาพพื้นผิวถนนที่สกปรกยังเป็นปัจจัยสำคัญในการปลดปล่อยของ PM ที่เพิ่มขึ้นด้วย |