![]() |
ผลกระทบต่อคุณภาพกำลังไฟฟ้าเมื่อมีการใช้งานสถานีประจุแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าชนิดอัดประจุเร็ว |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สาคร วุฒิพัฒนพันธุ์ |
Title | ผลกระทบต่อคุณภาพกำลังไฟฟ้าเมื่อมีการใช้งานสถานีประจุแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าชนิดอัดประจุเร็ว |
Contributor | ณัชพล เรืองทรัพย์, นัฐโชติ รักไทยเจริญชีพ |
Publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
Journal Vol. | 18 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 73-88 |
Keyword | คุณภาพกำลังไฟฟ้า, สถานีประจุแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า, ความเพี้ยนของฮาร์มอนิก |
URL Website | https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/RMUTP |
Website title | วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
ISSN | 3027-8260 |
Abstract | บทความนี้นำเสนอผลกระทบต่อระบบไฟฟ้ากำลังเมื่อมีการใช้งานงานสถานีประจุแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าชนิดอัดประจุเร็ว ในงานนี้ข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์ได้มาจากการตรวจวัดค่าที่ส่งผลโดยตรงต่อระบบไฟฟ้าสามเฟสที่ด้านอินพุตของสถานีประจุแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ค่าที่ทำการตรวจวัดได้แก่ ค่าแรงดันรากกำลังสองเฉลี่ย ค่ากระแสรากกำลังสองเฉลี่ย ค่าความเพี้ยนแรงดันฮาร์มอนิกรวม และค่าความเพี้ยนกระแสฮาร์มอนิกรวม ในการเก็บข้อมูลจะทำตั้งแต่ยังไม่อัดประจุ ขณะเริ่มอัดประจุไปจนกระทั่งแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้ามีประจุเต็ม โดยยานยนต์ที่ใช้ทดสอบเป็นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรถมินิบัสขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออนขนาด 120 กิโลวัตต์-ชั่วโมง สถานีอัดประจุที่ทดสอบเป็นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตประเทศไทยเช่นกัน โดยมีแรงดันด้านอินพุตเป็นไฟฟ้ากระแสสลับขนาด 400 โวลต์ แรงดันด้านเอาต์พุตเป็นไฟฟ้ากระแสตรงขนาด 250 ถึง 750 โวลต์ และหัวปลั๊กที่ใช้อัดประจุเป็นแบบ CCS-Type 2 เมื่อได้ข้อมูลแล้วจึงนำข้อมูลเหล่านั้นมาสร้างกราฟเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อคุณภาพกำลังไฟฟ้า จากการวิเคราะห์ข้อมูลทำให้ทราบว่าขณะใช้งานสถานีประจุแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าชนิดอัดประจุเร็วจะเกิดผลกระทบต่อคุณภาพกำลังไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าสามด้านหลัก ๆ นั่นคือ ผลกระทบด้านแรงดัน ผลกระทบด้านการเกิดฮาร์มอนิก และผลกระทบด้านความไม่สมดุลของระบบไฟฟ้า |