การกำหนดค่าพารามิเตอร์ให้เหมาะสมของอัลกอริทึมอาณานิคมผึ้งประดิษฐ์ด้วยวิธีพื้นผิวตอบสนอง
รหัสดีโอไอ
Creator อภิรักษ์ ขัดวิลาศ
Title การกำหนดค่าพารามิเตอร์ให้เหมาะสมของอัลกอริทึมอาณานิคมผึ้งประดิษฐ์ด้วยวิธีพื้นผิวตอบสนอง
Contributor ไพโรจน์ จันทร์แก้ว, จักรพันธ์ ถาวรงามยิ่งสกุล
Publisher มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
Publication Year 2567
Journal Title วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Journal Vol. 18
Journal No. 2
Page no. 51-61
Keyword อาณานิคมผึ้งประดิษฐ์, วิธีพื้นผิวตอบสนอง, เมตาฮิวริสติกส์
URL Website https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/RMUTP
Website title วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ISSN 3027-8260
Abstract อัลกอริทึมอาณานิคมผึ้งประดิษฐ์เป็นหนึ่งในวิธีแบบเมตาฮิวริสติกส์แบบกลุ่มที่มีประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมและการใช้งานที่เรียบง่าย แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าวิธีแบบเมตาฮิวริสติกส์นั้นถ้าต้องการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต้องมีการกำหนดค่าพารามิเตอร์ของอัลกอริทึมให้เหมาะสมด้วย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้วิธีพื้นผิวตอบสนองในการวิเคราะห์ระดับของพารามิเตอร์ที่เหมาะสมของอัลกอริทึมอาณานิคมผึ้งประดิษฐ์กับปัญหาทดสอบแบบตัวแปรต่อเนื่อง ในการดำเนินการวิจัยนี้จะเริ่มจากการออกแบบการทดลองแบบ 3k แฟคทอเรียล โดยพารามิเตอร์ที่ถูกนำมาใช้ในการออกแบบ ประกอบไปด้วย รอบในการวนซ้ำ (Iteration) จำนวนประชากรผึ้ง (Number of population) และขีดจำกัด (Limit) หลังจากนั้นนำแบบการทดลองที่ได้ไปทำการทดลองเพื่อเก็บข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้จากการทดลองมาทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีพื้นผิวตอบสนอง จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผลกระทบหลักซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนระดับของทั้งสามพารามิเตอร์ ผลกระทบร่วมระหว่างจำนวนประชากรผึ้งและขีดจำกัด และโมเดลกำลังสองมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (P-value<0.05) ขั้นตอนสุดท้ายคือการนำตัวแบบการถดถอยไปหาค่าพารามิเตอร์ที่ส่งผลให้ได้คำตอบที่ดีทีสุด ผลจากการวิเคราะห์ตัวแบบการถดถอยพบว่า ค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมของอัลกอริทึมอาณานิคมผึ้งประดิษฐ์ในการแก้ปัญหาฟังก์ชันคณิตศาสตร์แบบตัวแปรต่อเนื่อง ควรกำหนดระดับของ รอบในการวนซ้ำ จำนวนประชากรผึ้ง และขีดจำกัด เป็น 900 40 และ 90 ตามลำดับ
วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ