การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะการให้ข้อมูลของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
รหัสดีโอไอ
Creator ถิรายุ อินทร์แปลง
Title การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะการให้ข้อมูลของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
Publisher ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2567
Journal Title วารสารวิธีวิทยาการวิจัย Journal of Research Methodology
Journal Vol. 37
Journal No. 3
Page no. 193-218
Keyword การให้ข้อมูลป้อนกลับ, ครูผู้สอนกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ, แบบวัดสมรรถนะ, Feedback, Foreign Language Teachers, Competency Scale
URL Website https://so12.tci-thaijo.org/index.php/jrm/
Website title วารสารวิธีวิทยาการวิจัย Journal of Research Methodology
ISSN ISSN online 2697-4835
Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดสมรรถนะการให้ข้อมูลป้อนกลับของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 2) พัฒนาคำบรรยายและกำหนดคะแนนจุดตัดการประเมินสมรรถนะการให้ข้อมูลป้อนกลับตามแนวคิดแผนที่สภาวะสันนิษฐาน 3) ศึกษาผลการวัดสมรรถนะการให้ข้อมูลป้อนกลับของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และ 4) ประเมินความคิดเห็นของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่มีต่อการทดสอบสมรรถนะการให้ข้อมูลป้อนกลับ การวิจัยนี้ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติจิตมิติตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมและทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบของ Rasch กับตัวอย่างการวิจัยจำนวน 480 ตัวอย่าง พัฒนาคำบรรยายและกำหนดคะแนนจุดตัดโดยอาศัยแนวคิดแผนที่สภาวะสันนิษฐานด้วยการทดสอบขนาดใหญ่กับตัวอย่างการวิจัยจำนวน 1,612 ตัวอย่าง หลังจากนั้นนำผลการวัดมาทดสอบความแตกต่างตามภูมิหลังด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนสามทางประกอบกับการรายงานด้วยสถิติบรรยายแล้วทำการประเมินความคิดเห็นของตัวอย่างการวิจัยที่มีต่อการทดสอบสมรรถนะ ผลการวิจัยพบว่าแบบวัดสมรรถนะการให้ข้อมูลป้อนกลับไปยังผู้เรียนมีคุณสมบัติทางจิตมิติอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ สามารถกำหนดคะแนนจุดตัดจำนวน 2 จุดตัดพร้อมคำบรรยายที่มีคุณภาพ ผลการวัดสมรรถนะจากการทดสอบขนาดใหญ่พบว่าในภาพรวมตัวอย่างการวิจัยมีสมรรถนะการให้ข้อมูลป้อนกลับระดับ “มีสมรรถนะ” เมื่อนำผลไปเปรียบเทียบตามภูมิหลังพบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ตัวอย่างการวิจัยมีความเห็นต่อการทดสอบสมรรถนะโดยรวมอยู่ในระดับมากThis research aims to 1) develop and validate the psychometric properties of a scale for evaluating the feedback competency of foreign language teachers, 2) create descriptors and establish cutoff scores for the feedback competency assessment based on the Wright Map 3) assess the feedback competency of foreign language teachers, and 4) evaluate the perceptions of these teachers regarding the feedback competency assessment. This study examines the psychometric properties using both Classical Test Theory and Item Response Theory with an initial sample of 480 participants. Descriptors and cutoff scores were formulated according to the Wright Map principles, tested on 1,612 participants. The results were analyzed for background variable differences using three-way ANOVA and descriptive statistics. Additionally, the teachers' opinions on the assessment tool were gathered and evaluated. The findings indicate that the feedback competency assessment exhibits acceptable psychometric properties and successfully identifies two high-quality cutoff scores with comprehensive descriptors. The large-scale testing revealed that the overall feedback competency of the sample was classified as "competent." Comparisons based on background variables indicated no statistically significant differences. Furthermore, the teachers' perceptions of the feedback competency assessment overall were at a high level.
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ