![]() |
การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ญาณินท์ จิตตุรงค์อาภรณ์ |
Title | การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2 |
Contributor | - |
Publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | The Journal of Research and Academics |
Journal Vol. | 8 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 339 |
Keyword | ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน, การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย, คุณภาพการศึกษา |
URL Website | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
Website title | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
ISSN | ISSN 2672-9962 (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาความต้องการความช่วยเหลือ และแนวทางการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย 2) พัฒนารูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เป็นงานวิจัยและพัฒนา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 141 คน ครู จำนวน 141 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกประเด็นการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ แบบรายงาน ผลการดำเนินงาน แบบตรวจสอบและยืนยันรูปแบบ และแบบประเมินคุณภาพผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบัน 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก (μ = 4.23, σ = 0.86) ปัญหา 4 ด้าน ด้านการวางแผนปฏิบัติงาน ด้านการดำเนินงานตามแผน ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และด้านการปรับปรุงพัฒนาให้ได้มาตรฐาน อยู่ในระดับน้อย (μ = 2.09, σ = 0.19) ความต้องการความช่วยเหลืออันดับที่ 1 มีภาคีเครือข่ายในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในเขตพื้นที่ และแนวทางการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มี 5 ขั้นตอน (1) การส่วนร่วมในการวางแผน (2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน (3) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (4) การมีส่วนร่วมในการยินดีกับความสำเร็จ (5) การมีส่วนร่วมในการทบทวนหลังการปฏิบัติงาน 2) การพัฒนารูปแบบ มีผลอยู่ในระดับมากที่สุด 3) การทดลองใช้รูปแบบ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (equation = 4.56, S.D. = 0.50) และ 4) ประเมินรูปแบบ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.58, σ = 0.26) การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.70, σ = 0.30) |