รูปแบบความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร
รหัสดีโอไอ
Creator ทัชชกร แสงทองดี
Title รูปแบบความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร
Contributor ชนิกา แสงทองดี
Publisher มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
Publication Year 2568
Journal Title The Journal of Research and Academics
Journal Vol. 8
Journal No. 2
Page no. 193
Keyword รูปแบบความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, เกาะรัตนโกสินทร์, กรุงเทพมหานคร
URL Website https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
Website title https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
ISSN ISSN 2672-9962 (Online)
Abstract บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร และ 2) นำเสนอรูปแบบความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการการวิจัยเชิงปริมาณ สำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติรวมถึงภาคประชาชนในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จำนวน 10 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการเลือกเจาะจง แห่งละ 50 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 คน จำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ นักท่องเที่ยวและภาคประชาสังคม และเจ้าหน้าที่รัฐ และการสนทนากลุ่มย่อยกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พบว่า นักท่องเที่ยวมีความกังวลด้านความปลอดภัยในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ส่วนความคิดเห็นต่อการจัดการความปลอดภัยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยเงื่อนไขที่สำคัญในการจัดการความปลอดภัยคือ การดำเนินการทั้งในเชิงป้องกันและแก้ไขปัญหา และการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 2) รูปแบบการจัดการความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวที่เหมาะสมครอบคลุมการจัดการความปลอดภัย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านอาชญากรรม ด้านอุบัติเหตุ ด้านสาธารณสุข ด้านภัยธรรมชาติ ด้านการหลงทาง และด้านพืชและสัตว์ในแหล่งท่องเที่ยว โดยการนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์นั้น รัฐบาลและหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว ควรให้ความสำคัญกับการบูรณาการการทำงานร่วมกัน ควบคู่ไปกับการสร้างเครือข่ายชุมชนและอาสาสมัครเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการในเชิงพื้นที่
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ