การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความมีน้ำใจนักกีฬาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย
รหัสดีโอไอ
Creator สุภกิจ วิริยะกิจ
Title การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความมีน้ำใจนักกีฬาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย
Contributor ภูฟ้า เสวกพันธ์, พงษ์เอก สุขใส, เอื้อมพร หลินเจริญ
Publisher มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
Publication Year 2568
Journal Title The Journal of Research and Academics
Journal Vol. 8
Journal No. 1
Page no. 161
Keyword รูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษา, คอนสตรัคติวิสต์, ความคิดสร้างสรรค์, น้ำใจนักกีฬา
URL Website https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
Website title https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
ISSN ISSN 2672-9962 (Online)
Abstract บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ 2) สร้างตรวจสอบคุณภาพ 3) ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ฯ และ 4) ประเมินความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ฯ วิจัยตามขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา 1) สภาพการจัดการเรียนรู้พลศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูพลศึกษา โรงเรียนสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ 21 แห่ง โดยการเลือกแบบเจาะจง 2) สร้างตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ 3) การใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยเป็นกลุ่มตัวอย่าง 1 ห้อง และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง กลุ่มละ 20 คน ทดลอง 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์และแบบวัดความมีน้ำใจนักกีฬา สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้พลศึกษาฯ ทั้งหมด 4 ด้าน พบว่า ด้านความต้องการและความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.36 อยู่ระดับมาก 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พลศึกษาตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ฯ ซึ่งเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการใช้รูปแบบ พบว่า 3.1) ความคิดสร้างสรรค์และความมีน้ำใจนักกีฬา หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2) ความคิดสร้างสรรค์และความมีน้ำใจนักกีฬา หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ผลการประเมินความเป็นประโยชน์ พบว่า ด้านหลักการเป็นประโยชน์ต่อแนวทางการนำรูปแบบฯไปใช้เข้าใจง่ายและชัดเจน ค่าเฉลี่ย 4.96 อยู่ระดับมากที่สุด
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ