การจัดการความรู้ชุมชน 5 ดี สู่การพัฒนานวัตกรรมชุมชนวิถีพุทธ
รหัสดีโอไอ
Creator รัตติยา เหนืออำนาจ
Title การจัดการความรู้ชุมชน 5 ดี สู่การพัฒนานวัตกรรมชุมชนวิถีพุทธ
Contributor อัครเดช พรหมกัลป์, พระครูสุธีธรรมบัณฑิต
Publisher มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
Publication Year 2567
Journal Title The Journal of Research and Academics
Journal Vol. 7
Journal No. 6
Page no. 367
Keyword การจัดการความรู้ชุมชน, ชุมชน 5 ดี, นวัตกรรมชุมชนวิถีพุทธ, ตำบลหนองนมวัว
URL Website https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
Website title https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
ISSN ISSN 2672-9962 (Online)
Abstract บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดการความรู้ชุมชน 5 ดี และ 2) ประเมินผลและถอดบทเรียนการจัดการความรู้ชุมชน 5 ดีสู่การพัฒนานวัตกรรมชุมชนวิถีพุทธ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นการวางแผนเพื่อสร้างการตระหนักรู้ของชุมชน ขั้นการปฏิบัติเพื่อการบ่งชี้ความรู้ และการสร้างและแสวงหาความรู้ โดยการประชุมแกนนำระดับชุมชน จำนวน 7 รูป/คน และการจัดเสวนาตัวแทนชุมชน จำนวน 60 รูป/คน ขั้นการติดตามประเมินผลความรู้ โดยการประเมินผลโครงการแบบซิป กับตัวแทนชุมชน จำนวน 16 รูป/คน และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการจัดการความรู้ชุมชน 5 ดี ประกอบด้วย 1.1) การสังเคราะห์และบ่งชี้ความรู้ เพื่อกำหนดกรอบการบ่งชี้ความรู้ให้มีความชัดเจนขึ้น 1.2) การแสวงหาความรู้ มีการขยายพื้นที่เป้าหมาย มีการสร้างกลไกเจ้าภาพ มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน และมีการจัดทำแผนที่ผู้รู้ และหนังสือยินยอมอนุญาตฯ 1.3) การจัดเก็บ การสืบค้นความรู้ การประมวลและกลั่นกรอง แบ่งออกเป็น 5 หมวด รวมจำนวนผู้รู้ 68 รูป/คน 1.4) การระดมความคิดเห็นเพื่อยืนยันชุดข้อมูลชุมชน ประกอบด้วย การเสวนาชุมชน และการประกวดคลิปวิดีโอ 1.5) การถ่ายทอดความรู้ ประกอบด้วย การจัดทำหนังสือชุดความรู้ชุมชน และการจัดทำแผนที่ผู้รู้ 1.6) การขยายผล และสร้างมูลค่าชุดความรู้ ได้เลือกต้นแบบ คือ “ลูกกระสุน” และ 2) การประเมินผลแบบซิปโมเดล ประกอบด้วย ด้านบริบท เป็นพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม และมีทุนทางวัฒนธรรมเข้มแข็ง ด้านปัจจัยป้อน มีแกนนำชุมชน จิตอาสา ศักยภาพชุมชนมีความเข้มแข็ง และได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ด้านกระบวนการ มีการสร้างข้อตกลงชุมชน กลไกเจ้าภาพ และกำหนดเป้าหมายร่วมกัน ด้านผลิตผล มีการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อพัฒนาครบทุกพื้นที่ แต่ขาดช่วงการสืบทอดความรู้ และผลการถอดบทเรียน พบว่า ปัญหาและข้อจำกัด คือ เงื่อนเวลาของผู้รู้และการสูญหายของชุดความรู้ และปัจจัยความสำเร็จ คือ การสนับสนุนจากภาครัฐ ศักยภาพชุมชน ทุนทางวัฒนธรรม การมีส่วนร่วม และแกนนำชุมชน/จิตอาสามีความเข้มแข็ง
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ